กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/666
ชื่อเรื่อง: องค์ประกอบ ตัวชี้วัด และปัจจัยเชิงสาเหตุของความเป็นพลเมืองของนักเรียน อาชีวศึกษา ในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
ชื่อเรื่องอื่นๆ: COMPONENTS, INDICATORS, AND CAUSAL FACTORS AFFECTING CITIZENSHIP OF VOCATIONAL STUDENTS IN SCHOOLS UNDER LOCAL ADMINISTRATION
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชิรวัฒน์ นิจเนตร
วันชัย ธรรมสัจการ

สุนันทา ภักดีไทย
คำสำคัญ: องค์ประกอบ
ตัวชี้วัด
ปัจจัยเชิงสาเหตุ
ความเป็นพลเมือง
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: สังคมไทยในปัจจุบันนี้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคม และการศึกษา ส่งผลต่อความเจริญทางด้านวัตถุเพียงด้านเดียว แต่ความเจริญทาง ด้านจิตใจกลับเสื่อมลงทำให้เกิดปัญหามากมายในสังคม ส่งผลให้ความเป็นพลเมืองดีของเยาวชนไทยลดลง โดยการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาองค์ประกอบ และตัวชี้วัดความเป็นพลเมืองของของนักเรียนอาชีวศึกษา ในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุของความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษา และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ วิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การสร้างรูปแบบโดยการวิเคราะห์สังเคราะห์แนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง สัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิด้วยแบบสัมภาษณ์ 5 คน และระยะที่ 2 การตรวจสอบความสอดคล้อง ของรูปแบบกับข้อมูล เชิงประจักษ์ โดยมีกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนอาชีวศึกษา ในโรงเรียนสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 320 คน ผู้วิจัยใช้แบบสอบถามมาตรวัดประมาณค่า 6 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการสังเคราะห์องค์ประกอบของความเป็นพลเมือง วิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ด้วยโปรแกรมสำเร็จรูป ผลการวิจัยพบว่า องค์ประกอบ ตัวชี้วัดของความเป็นพลเมือง มี 4 องค์ประกอบ 20 ตัวชี้วัด ได้แก่ 1) มีความรับผิดชอบ ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด 2) มีจิตสาธารณะ ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด 3) มีวินัย ประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด 4 ซื่อสัตย์สุจริตประกอบด้วย 5 ตัวชี้วัด มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบ 0.875, 0.875, 0.831 และ 0.767 ตามลำดับ และรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุจากปัจจัยด้านลักษณะมุ่งอนาคตควบคุมตน ภาวะผู้นำครู การรับรู้ข่าวสารผ่านสื่อ และการสนับสนุนทางสังคม ที่มีต่อความเป็นพลเมืองของนักเรียนอาชีวศึกษาพบว่า การรับรู้ข่าวสารผ่านสื่อ มีอิทธิพลทางตรงต่อความเป็นพลเมืองของนักเรียนด้วยค่าสัมประสิทธิ์อิทธิพลเท่ากับ 0.47 ส่วนปัจจัยอื่น ๆ จะเป็นอิทธิพลทางอ้อมเท่านั้นโดยตัวแปรเชิงสาเหตุในรูปแบบนี้มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์และสามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวน ของความเป็นพลเมืองของนักเรียนได้ร้อยละ 74.00 ดังนั้น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรสร้างแบบอย่างการประพฤติปฏิบัติที่ดีและเหมาะสมโดยประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อในรูปแบบต่าง ๆ
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/666
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Leadership in Educational Management : Dissertations

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
01 Cover Sunantha.pdf2.2 MBAdobe PDFดู/เปิด
04 Chapter 3 Sunantha.pdf1.98 MBAdobe PDFดู/เปิด
05 Chapter 4 Sunantha.pdf7.88 MBAdobe PDFดู/เปิด
06 Chapter 5 Sunantha.pdf2.31 MBAdobe PDFดู/เปิด
02 Chapter 1 Sunantha.pdf1.55 MBAdobe PDFดู/เปิด
03 Chapter 2 Sunantha.pdf12.14 MBAdobe PDFดู/เปิด
07 Reference Sunantha.pdf51.79 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น