กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/610
ชื่อเรื่อง: ผลของโปรแกรมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการตั้งครรภ์ ก่อนวัยอันควร โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: EFFECTS OF SEX RISK BEHAVIORS AND TEENAGE PREGNANCY PROTECTION PROGRAMME USING THE APPLICATION OF PROTECTION MOTIVATION THEORY AMONG SECOND GRADE SECONDARY STUDENTS, KRABI PROVINCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กนกรัตณ์ ชลศิลป์
อรัญญา รักหาบ
จุติมาศ เม่งช่วย
คำสำคัญ: การตั้งครรภ์
วันที่เผยแพร่: 2561
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: วัยรุ่นในสังคมไทยช่วงอายุ 14 - 16 ปี โดยปกติเป็นช่วงวัยที่มีความเปิดเผย อันนำไปสู่ ความเสี่ยงต่อพฤติกรรมทางเพศ และมีแนวโน้มที่จะเกิดการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ปัญหาเหล่านี้มี หลากหลายมิติ ทั้งประเด็นทางสังคม วัฒนธรรม และด้านสาธารณสุข สามารถแก้ปัญหาได้หากได้ให้ ความรู้เรื่องเพศ ให้รับรู้จุดอ่อนของปัญหา และสร้างความคาดหวังในผลของการตอบสนอง ตลอดจน สร้างความสามารถในการป้องกันได้อย่างเหมาะสม การศึกษาครั้งนี้ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค โดยสร้างเป็นโปรแกรมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยการ ประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จังหวัดกระบี่ การวิจัย กึ่งทดลองครั้งนี้ ใช้ประชากรจำนวน 3,283 คน ในนักเรียนชายและหญิงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 16 แห่ง ในจังหวัดกระบี่ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2560 กลุ่มตัวอย่างคัดเลือกโดย วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) ได้แก่ นักเรียนชายและหญิงชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2 จำนวน 76 คน จากโรงเรียนเมืองกระบี่ ซึ่งแบ่งเป็นกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 38 คน โดยกลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการป้องกันพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศและการตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร โดยการประยุกต์ใช้ทฤษฎีแรงจูงใจเพื่อป้องกันโรค ประกอบด้วยกิจกรรมการเรียนรู้จำนวน 4 ครั้ง ในระยะเวลา 4 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลก่อนและหลังทดลองโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลทั่วไป โดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าเฉลี่ยนำมาเปรียบเทียบกับ การทดสอบสมมติฐานการวิจัยภายในกลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม โดยใช้สถิติการทดสอบความแตกต่าง ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง 2 กลุ่มไม่อิสระ และทดสอบสมมติฐานการวิจัยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่ม ควบคุม โดยใช้สถิติการทดสอบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของกลมุ่ ตัวอย่าง 2 กลุ่มที่มีความเป็นอิสระต่อกัน
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/610
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Curriculum and Instruction: Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
01 Cover Juthimas.pdf1.82 MBAdobe PDFดู/เปิด
02 Chapter 1 Juthimas.pdf1.41 MBAdobe PDFดู/เปิด
03 Chapter 2 Juthimas.pdf6.45 MBAdobe PDFดู/เปิด
04 Chapter 3 Juthimas.pdf1.91 MBAdobe PDFดู/เปิด
05 Chapter 4 Juthimas.pdf3.09 MBAdobe PDFดู/เปิด
06 Chapter 5 Juthimas.pdf1.71 MBAdobe PDFดู/เปิด
07 Reference Juthimas.pdf10.56 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น