กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1092
ชื่อเรื่อง: | ส่วนประสมทางการตลาดของธุรกิจอาหารสตรีทฟู้ด ในอำเภอเกาะสมุย ภายใต้สถานการณ์ความปกติใหม่ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The Marketing Mix of Street Food Businesses in Koh Samui District under the New Normal Circumstances |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | จิรัชย์ พูนเอียด ยกสมน เจ๊ะเฮง |
คำสำคัญ: | ธุรกิจอาหารสตรีทฟู้ด ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาด 7P’s พฤติกรรมผู้บริโภค |
วันที่เผยแพร่: | 14-กุม-2568 |
สำนักพิมพ์: | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
แหล่งอ้างอิง: | บทความ, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาลักษณะส่วนบุคคลและพฤติกรรมผู้บริโภค ธุรกิจอาหารสตรีทฟู้ดในอำเภอเกาะสมุย ภายใต้สถานการความปกติใหม่ 2) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์ส่วนประสมทางด้านการตลาด 7Ps ของธุรกิจอาหารสตรีทฟู้ดในอำเภอเกาะสมุย ภายใต้สถานการความปกติใหม่ จำแนกตามลักษณะส่วนบุคคล 3) เพื่อศึกษาเปรียบเทียบกลยุทธ์ส่วนประสมทางด้านการตลาด 7P’s ของธุรกิจอาหารสตรีทฟู้ดในอำเภอเกาะสมุย ภายใต้สถานการความปกติใหม่ จำแนกตามพฤติกรรมผู้บริโภค การศึกษาได้ใช้วิธีการวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยเก็บข้อมูลจากผู้ประกอบการธุรกิจอาหารสตรีทฟู้ดจำนวน 400 ตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก (Convenience Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถาม (Questionnaire) และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ใช้ ค่าสถิติ t (t-test) และ ค่าสถิติ F (F-test) ผลการวิจัยพบว่าปัจจัยด้านส่วนประสมทางการตลาด 7P’s มีความสำคัญอย่างมากต่อความอยู่รอดของธุรกิจอาหารสตรีทฟู้ด โดยเฉพาะปัจจัยด้านบุคคล (People) ราคา (Price) และการจัดจำหน่าย (Place) ที่ได้รับการตอบรับในเชิงบวกจากผู้บริโภค นอกจากนี้ การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลของผู้บริโภค เช่น เพศและอายุ ยังพบว่ามีผลต่อพฤติกรรมการบริโภคและความอยู่รอดของธุรกิจ โดยเพศหญิงมีแนวโน้มให้ความสำคัญกับคุณภาพและราคา ในขณะที่กลุ่มอายุที่แตกต่างกันมีผลต่อความพึงพอใจต่อผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้ผลการวิจัยนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการปรับกลยุทธ์การตลาดให้สอดคล้องกับความต้องการและพฤติกรรมของผู้บริโภค เพื่อเสริมสร้างความอยู่รอดของธุรกิจอาหารสตรีทฟู้ดในสถานการณ์ที่ท้าทาย ซึ่งสามารถเป็นแนวทางในการพัฒนาธุรกิจให้มีความยั่งยืนในอนาคต |
รายละเอียด: | การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1092 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Business Administration: Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
is MBA68_Jirat.pdf | บทความ, จิรัชย์ พูนเอียด | 366.22 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น