กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1009
ชื่อเรื่อง: การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการซื้อสินค้าบนธุรกิจแพลตฟอร์มของพลเมืองยุคดิจิทัลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Online Marketing Communications Affected Shopping on Business Platforms of Digital Citizens in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นัฐวุฒิ ซอนสุข
สิญาธร นาคพิน
คำสำคัญ: การสื่อสารการตลาดออนไลน์
การตัดสินใจซื้อสินค้า
พลเมืองยุคดิจิทลั
ธุรกิจแพลตฟอร์ม
วันที่เผยแพร่: 2-มีน-2566
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยส่วนบุคคลของพลเมืองยุคดิจิทัลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ระดับความสำคัญการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของพลเมืองยุคดิจิทัลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) การตัดสินใจซื้อสินค้าของพลเมืองยุคดิจิทัลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 4) เปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของพลเมืองยุคดิจิทัลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 5) การสื่อสารการตลาดออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนธุรกิจแพลตฟอร์มของพลเมืองยุคดิจิทัลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่าง คือ กลุ่มพลเมืองยุคดิจิทัลที่เคยซื้อสินค้าออนไลน์บนธุรกิจแพลตฟอร์มผ่านแอพพลิเคชั่นบนมือถือ ในพื้นที่จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.972 โดยเก็บข้อมูลออนไลน์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน T-test F-test และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ผลการศึกษาพบว่า 1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 24 ถึง 29 ปี สถานภาพทางครอบครัวโสด ศาสนาพุทธ อยู่ในอำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี ระดับการศึกษาปริญญาตรี อาชีพพนักงานบริษัทเอกชนหรือรับจ้างรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,001 ถึง 25,000 บาท ใช้สมาร์ทโฟนเป็นอุปกรณ์ในการซื้อสินค้าออนไลน์ ความถี่ในการซื้อสินค้าผ่านร้านออนไลน์ 1 ถึง 3 ครั้งต่อเดือน มูลค่าเฉลี่ยซื้อในแต่ละครั้ง 501 ถึง 1,000 บาทต่อครั้ง 2) ระดับความสำคัญการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของพลเมืองยุคดิจิทัลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับ 3) การตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของพลเมืองยุคดิจิทัลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด 4) การเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการสื่อสารการตลาดออนไลน์ของพลเมืองยุคดิจิทัลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า อายุ อำเภอที่อยู่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี อาชีพหลัก อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ซื้อ ความถี่ในการซื้อ สถานภาพทางครอบครัว และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกันการสื่อสารการตลาดออนไลน์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 และ 5) ปัจจัยการสื่อสารการตลาดออนไลน์ ได้แก่ ปัจจัยด้านการโฆษณา และด้านการส่งเสริมการขาย ส่งผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าบนธุรกิจแพลตฟอร์มของพลเมืองยุคดิจิทัลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 ธุรกิจควรเน้นการสื่อสารการตลาดออนไลน์ ด้านโฆษณา และการส่งเสริมการขาย เพื่อกระตุ้นการตัดสินใจซื้อสินค้าบนธุรกิจแพลตฟอร์มของพลเมืองยุคดิจิทัล
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1009
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_mba_nattawut66.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี757.22 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น