กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/901
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านศาลาด่าน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: TEACHER DEVELOPMENT ON HEALTH PROMOTION ACTIVITIES OF CHUMCHON BAN SALA DAN SCHOOL UNDER THE KRABI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ชัย แซ่เตี้ย
นัฎจรี เจริญสุข
ชูศักดิ์ เอกเพชร
คำสำคัญ: การพัฒนาครู
กิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียน
การวิจัยปฏิบัติการ
วันที่เผยแพร่: 7-มกร-2565
สำนักพิมพ์: การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต
แหล่งอ้างอิง: สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนของครู โรงเรียนชุมชนบ้านศาลาด่าน 2) พัฒนาครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านศาลาด่าน และ 3) ประเมินผลการพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนของโรงเรียนชุมชนบ้านศาลาด่าน กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูโรงเรียนชุมชนบ้านศาลาด่าน ปีการศึกษา 2564 จำนวน 22 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แบบสอบถามสภาพและปัญหาในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียน 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการอบรมเชิง ปฏิบัติการ 3) คู่มือการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียน 4) แบบประเมินการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียน 5) แบบทดสอบความรู้ก่อน - หลังการอบรม และ 6) แบบประเมินความพึงพอใจของครู ใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดย ดำเนินการเป็น 2 วงรอบ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ วิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพและปัญหาในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนของครูโรงเรียนชุมชนบ้าน ศาลาด่าน โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมาก เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การบริการอนามัยโรงเรียน การดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพนักเรียน โภชนาการและอาหารที่ปลอดภัย การบริหารจัดการในโรงเรียน การออกกำลัง กาย การจัดสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพนักเรียน การให้คำปรึกษาและสนับสนุน สุขศึกษาใน โรงเรียน และการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียน 2) การพัฒนาครูในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียนของ โรงเรียนชุมชนบ้านศาลาด่านครูผู้เข้ารับการอบรมมีพฤติกรรมการเข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการอยู่ในระดับดีเยี่ยม หลังการ อบรมครูสามารถจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมสุขภาพนักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ครูเข้าใจวัตถุประสงค์การจัดกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพนักเรียน มีความรู้ ความเข้าใจในการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียน สามารถนำเสนอการจัดกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพนักเรียนดีกว่าก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ และ 3) การพัฒนาครูโรงเรียนชุมชนบ้านศาลาด่านโดยการ อบรมเชิงปฏิบัติการ เมื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการอบรม พบว่า ครูโรงเรียนชุมชนบ้านศาลาด่าน มีผลสัมฤทธิ์ ทางการอบรมเชิงปฏิบัติการการจัดกิจกรรมส่งเสริมสุขภาพนักเรียน สูงกว่าก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการอย่างมีนัยสำคัญ ที่ระดับ .05
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/901
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_med65_narongchai.pdf4.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น