กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/858
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาคู่มือครูนิเทศก์ในสถานประกอบการ สังกัดสานักงานคณะกรรมการ การอาชีวศึกษา จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Manual Development for A Supervisory Teacher in Workplace under The Office of The Vocational Education Commission in Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เพชรรัตน์ บัวอินทร์
บรรจง เจริญสุข
สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์
คำสำคัญ: การพัฒนาคู่มือ
คู่มือครูนิเทศก์ในสถานประกอบการ
การจัดการศึกษาระบบทวิภาคี
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของครูนิเทศก์ในสถานประกอบการ 2) พัฒนาคู่มือครูนิเทศก์ในสถานประกอบการ 3) ประเมินความเหมาะสมของคู่มือครูนิเทศก์ในสถานประกอบการ ในการจัดการศึกษาระบบทวิภาคี สังกัดสานักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดชุมพร การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ประกอบด้วย ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาของครูนิเทศก์ในสถานประกอบการ กลุ่มตัวอย่างได้แก่ หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี จานวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ขั้นตอนที่ 2 พัฒนาคู่มือครูนิเทศก์ในสถานประกอบการ โดยพิจารณาค่าดัชนีความสอดคล้องของคู่มือ (IOC) โดยผู้เชี่ยวชาญ 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเหมาะสมของคู่มือครูนิเทศในสถานประกอบการกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี จานวน 7 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสมมีค่าความเชื่อมั่น 0.86 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของครูนิเทศในสถานประกอบการ ได้แก่ การจัดทาแผนการฝึกอาชีพร่วมกับครูฝึก การให้คาแนะนาปรึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นในสถานประกอบการ การนิเทศติดตามความก้าวหน้าของผู้เรียนและการรายงานผลการนิเทศต่อผู้บริหาร 2) ผลการพัฒนาคู่มือครูนิเทศก์ในสถานประกอบการ ประกอบด้วย (1) บทนา (2) การจัดการศึกษาอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (3) การนิเทศการศึกษาในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี และ (4) แนวทางการนิเทศการศึกษาของครูนิเทศในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ผลการประเมินความสอดคล้องของคู่มือ พบว่า ทุกข้อมีดัชนีความสอดคล้อง 1.00 3) ผลการประเมินความเหมาะสมของคู่มือครูนิเทศก์ในสถานประกอบการ พบว่าโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลาดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการใช้ภาษา ด้านการออกแบบ ด้านเนื้อหา และด้านรูปเล่ม
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/858
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is64_phetcharat-ed.pdf993.81 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น