กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/846
ชื่อเรื่อง: คุณลักษณะของผู้ประกอบการและทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจลานเทปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Entrepreneurial Characteristics and Digital Literacy Affecting Survival of Oil Palm Ramp Business in Krabi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ถาวร หนูชัยแก้ว
สิญาธร นาคพิน
คำสำคัญ: คุณลักษณะของผู้ประกอบการ
ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล
ความอยู่รอดธุรกิจลานเทปาล์มน้ำมัน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) คุณลักษณะของผู้ประกอบการธุรกิจลานเทปาล์มน้ำมันในจังหวัด กระบี่ (2) ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลของผู้ประกอบการธุรกิจลานเทปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ (3) ความอยู่รอดของธุรกิจลานเทปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ และ (4) คุณลักษณะของผู้ประกอบการและทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจลานเทปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการธุรกิจลานเทปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ จำนวน 230 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์คือ สถิติเชิงพรรณนา ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมุติฐานใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุระหว่าง 41-45 ปี ศาสนาพุทธ การศึกษาปริญญาตรี มีจำนวนพนักงานมากกว่า 4 คน ระยะเวลาในการประกอบธุรกิจ 5 ปีขึ้นไป ผู้ประกอบการมีรายได้จากลานเทปาล์มน้ำมันเฉลี่ยต่อเดือน (ก่อนหักค่าใช้จ่าย) 400,000-500,000 บาท ส่วนใหญ่ลานเทปาล์มน้ำมันตั้งอยู่อำเภอปลายพระยา คุณลักษณะของผู้ประกอบภาพรวมมีความสำคัญระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่า ด้านความมั่นใจต่อลูกค้า สำคัญมากที่สุด ส่วนทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลธุรกิจภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายประเด็นพบว่า ด้านการใช้หรือการเข้าถึงเทคโนโลยีดิจิทัลสำคัญมากที่สุด และ ด้านความอยู่รอดของธุรกิจลานเทปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยให้ความความสำคัญด้านธุรกิจอยู่รอดได้ถึงแม้จะเกิดสภาวะวิกฤติโรคระบาด เช่น โควิด และปัจจัยที่มีผลต่อความอยู่รอดของธุรกิจลานเทปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ ได้แก่ ทักษะการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลด้านการสร้างเทคโนโลยีดิจิทัล และ คุณลักษณะของผู้ประกอบการด้านการตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้า ซึ่งสามารถร่วมกัน พยากรณ์ความอยู่รอดของธุรกิจคิดเป็น ร้อยละ 56.00 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.01
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/846
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
thawor_is_mba64.pdf1.14 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น