กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/780
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาครูในการใช้กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อป้องกันปัญหา การ ออกกลางคัน ของนักเรียนระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Teacher Development in Using Support Learning Activities to Prevent Problem of Dropout for First-Year Vocational Certificate Students at Thung Song Technical College
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติพันธ์ สุวรรณน้อย
ชูศักดิ์ เอกเพชร
สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์
คำสำคัญ: การออกกลางคัน
กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้
ปัญหาการออกกลางคัน
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระ
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพ การออกกลางคัน ของนักเรียนระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง 2) พัฒนาครูให้สามารถใช้กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน ของนักเรียนระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง 3) ประเมินความพึงพอใจต่อการพัฒนาครูในการใช้กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน ของนักเรียนระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคทุ่ง โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตผล และการสะท้อนผล ดำเนินการ 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมายการวิจัย ได้แก่ ครูที่ปรึกษาชั้นปีที่ 1 และหัวหน้าแผนกวิชาทุกวิชา วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง ปีการศึกษา 2562 จำนวน 18 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลในเชิงบรรยายและพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการออกกลางคัน ของนักเรียนระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง นักเรียนมีแนวโน้มออกกลางคัน จากสาเหตุได้แก่ ด้านด้านพฤติกรรมส่วนตัวของนักเรียนนักศึกษา ด้านสภาพครอบครัว ด้านสภาพแวดล้อมภายในสถานศึกษา และด้านสภาพแวดล้อมภายนอกสถานศึกษา เรียงตามลำดับ 2) ผลการพัฒนาครูให้สามารถใช้กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ เพื่อป้องกันปัญหาการออกกลางคัน ของนักเรียนระดับชั้น ประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1 วิทยาลัยเทคนิคทุ่งสง ให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้กิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ โดยทดสอบวัดความรู้ ทดสอบวัดความรู้ ก่อนและหลัง โดยก่อนการฝึกอบรมมีค่าคะแนนเฉลี่ยของความรู้ความเข้าใจก่อนการอบรมมีคะแนนความรู้เฉลี่ย เท่ากับ 12.33 หลังอบรมมีคะแนนความรู้เฉลี่ย เท่ากับ 15.94 และใช้กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ครูที่ปรึกษาและหัวหน้าแผนก จำนวน 18 คน มีความรู้ความเข้าใจ รับทราบวิธีการพัฒนากิจกรรมสนับสนุนการเรียนรู้ ที่เกิดขึ้น 3)ผลการประเมินผลการพัฒนาครู โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงตามลำดับคือด้านวิทยากร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงสุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.00 รองลงมาคือ ด้านเนื้อหา ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.94 และด้านการจัดการโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.89
รายละเอียด: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/780
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
kitipan IS63.pdf808.21 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น