กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/776
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาบุคลากรเพื่อจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Personnel Development for Creating Individual Education Management Plans Management Plans for Children with Special Needs of the Krabi Special Education Center นั
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นัจนันท์ ทิ้งน้ำรอบ
นัฎจรี เจริญสุข
โสภณ เพ็ชรพวง
คำสำคัญ: การพัฒนาบุคลากร
แผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล
เด็กที่มีความต้องการพิเศษ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระ
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความรู้ความเข้าใจของบุคลากรในการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ 2) พัฒนาบุคลากรในการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ และ 3) ประเมินผลการพัฒนาบุคลากรในการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ ของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดกระบี่ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 29 คน การวิจัยมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล การดำเนินการ 2 วงรอบ เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามความรู้ความเข้าใจ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบนิเทศติดตาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจของบุคลากรก่อนการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับดังนี้ การจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การเตรียมจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล การประเมินผลการเรียนการเรียนรู้ตามทักษะที่ระบุในแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล และ การนำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลไปใช้ 2) ผลการพัฒนาบุคลากรเพื่อจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคล สำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ พบว่า ผลการประเมินความรู้ความเข้าใจหลังการอบรมเชิงปฏิบัติการมีค่าเฉลี่ยอยู่ระดับมากที่สุด และมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนการอบรมเชิงปฏิบัติการ ผลการประเมินความพึงพอใจในการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินการพัฒนาบุคลากรในการจัดทำแผนการจัดการศึกษาเฉพาะบุคคลสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ จากการนิเทศติดตามผล พบว่า ครูผู้สอนสามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับระดับความสามารถและประเภทความพิการของผู้เรียน สามารถเลือกใช้สื่อ เทคโนโลยีที่สอดคล้องกับกิจกรรมการเรียนรู้และประเภทความพิการของผู้เรียน สามารถจัดกิจกรรมเน้นให้ผู้เรียนลงมือปฏิบัติจริง จุดประสงค์การเรียนรู้เรียงลำดับพฤติกรรมจากง่ายไปหายาก มีความชัดเจนครอบคลุมเนื้อหาสาระหรือทักษะที่สอน จัดกิจกรรมการเรียนรู้มีความหลากหลายและผู้เรียนสามารถปฏิบัติได้จริง กำหนดเนื้อหาหรือสาระเหมาะสมกับเวลาที่สอน กิจกรรมการเรียนรู้สอดคล้องกับจุดประสงค์เนื้อหาหรือสาระที่สอน กิจกรรมการเรียนรู้เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมกระบวนการคิดของผู้เรียน และมีการบันทึกหลังการสอน หลังเสร็จสิ้นการสอนทุกครั้ง
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/776
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Nachanan 2563.pdf227.86 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น