กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/774
ชื่อเรื่อง: การพัฒนากระบวนการจัดการขยะของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Waste Management Process of Koh Phangan Suksa School, Koh Phangan, Surat Thani
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กิตติมา เนตรพุกกณะ
ชูศักดิ์ เอกเพชร
สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์
คำสำคัญ: การบริหารสถานศึกษา
การบริหารจัดการขยะ
โรงเรียนเกาะพะงันศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระ
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาการจัดการขยะของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา 2) พัฒนากระบวนการการจัดการขยะของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา 3) ประเมินผลการพัฒนากระบวนการจัดการขยะของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา ด้วยการเปรียบเทียบปริมาณขยะก่อนและหลัง และความพึงพอใจต่อการปฏิบัติการ โดยดำเนินการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ที่มีการดำเนินการ 2 วงรอบ ด้วยการประยุกต์ขั้นตอนดำเนินการ 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน การปฏิบัติ การสังเกตผล และการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา จำนวน 37 คน ดำเนินการด้วยกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการและการปฏิบัติในจัดการขยะในสำนักงาน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลในเชิงบรรยายและพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาการจัดการขยะของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษาในภาพรวมมีขยะปริมาณมากส่งผลต่อการจัดการขยะที่มีประสิทธิภาพ ภาพลักษณ์ของการจัดการขยะที่ไม่เหมาะสม ทำให้เกิดความเดือดร้อนต่อชุมชน ขาดระบบการจัดการขยะที่ถูกสุขลักษณะ 2) การพัฒนากระบวนการจัดการขยะ ในวงรอบที่ 1 ด้วยกิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการเสริมความรู้คู่การจัดการขยะและสามารถนำสู่การปฏิบัติการในกิจกรรมการบริหารจัดการขยะ การพัฒนาต่อในวงรอบที่ 2 การลดใช้กระดาษ ด้วยกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการสำนักงานไร้กระดาษและกิจกรรมสำนักงานไร้กระดาษ 3) ประเมินผลการพัฒนากระบวนการจัดการขยะของโรงเรียนเกาะพะงันศึกษา พบว่า ในวงรอบที่ 1 ปริมาณขยะลดลง 118.93 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 65.02 ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับ มาก การพัฒนาในวงรอบที่ 2 ปริมาณขยะลดลงจากวงรอบที่ 1จำนวน 20.57 กิโลกรัม คิดเป็นร้อยละ 47.43 ระดับความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก เมื่อเปรียบเทียบผลทั้ง 2 วงรอบ พบว่า ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรีนเกาะพะงันศึกษามีความรู้ความเข้าใจการจัดการขยะสูงขึ้น สามารถนำไปปฏิบัติการให้ปริมาณขยะลดลงอย่างต่อเนื่อง การจัดการขยะเปรียบเทียบผลสูงขึ้นในทุกด้าน ได้แก่ ด้านการลดการใช้ การใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ อยู่ในระดับมาก และระดับความพึงพอใจต่อการพัฒนาการจัดการขยะอยู่ในระดับ มาก
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/774
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Kittima2020.pdf272.73 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น