กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/762
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ สำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลสมอทอง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Child Care Teachers in Learning Experience Management for Early Childhood Learners at the Child Development Center under Samorthong Subdistrict Administration Organization,Thachana,Surat Thani
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชลันพร สังข์สิงห์
ญาณิศา บุญจิตร์
บรรจง เจริญสุข
คำสำคัญ: การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก
การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระ
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กในด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย 2) พัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก 3) ศึกษาผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยใช้การวิจัยเชิงปฏิบัติการ 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล กลุ่มเป้าหมายการวิจัย คือ ครูผู้ดูแลเด็กของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัด องค์การบริหารส่วนตำบลสมอทอง จำนวน 5 คน แนวทางที่ใช้ในการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็ก คือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการนิเทศภายใน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอผลในเชิงบรรยายและพรรณนาวิเคราะห์ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของครูผู้ดูแลเด็กในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ในศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลสมอทอง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า ครูผู้ดูแลเด็กส่วนใหญ่ไม่ได้จบตรงเอกปฐมวัย จึงขาดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง และครูผู้ดูแลเด็กไม่ได้รับการพัฒนาตนเองด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้เกิดปัญหาในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยของครูผู้ดูแลเด็ก ทำให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร 2) การพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ในวงรอบที่ 1 ใช้วิธีการคือ การอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน ณ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กต้นแบบ และการนิเทศภายใน เพื่อติดตามประเมินผล ทั้งนี้ครูสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แล้วนำไปปฏิบัติจริงกับเด็กปฐมวัย และในวงรอบที่ 2 ดำเนินการพัฒนาครู โดยใช้แนวทางการนิเทศภายใน พบว่า ครูสามารถนำความรู้ที่ได้ไปพัฒนาการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ และการเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ทำให้การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัยมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น 3) การศึกษาผลการพัฒนาครูผู้ดูแลเด็กด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย ซึ่งสะท้อนผลได้จากการที่ครูนำความรู้จากการอบรมเชิงปฏิบัติการ การศึกษาดูงาน และการนิเทศภายใน ไปใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ อีกทั้งจากการประเมินผลการสังเกตพฤติกรรม พบว่า หลังจากที่ครูผู้ดูแลเด็กเข้ารับการพัฒนาตนเอง ทำให้สามารถเขียนแผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่ถูกต้อง และนำไปใช้ในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ส่งผลให้เด็กปฐมวัยมีพฤติกรรมการเรียนรู้อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/762
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Chalunporn.pdf374.6 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น