กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/761
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโดยใช้กระบวนการนิเทศสาหรับครูในโรงเรียนประชานิคม 4 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of Active Learning Management by Using the Supervision Process for teachers in Prachanikom 4 School under Chumphon Primary Educational Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: บุปผา รื่นรวย
สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์
ชูศักดิ์ เอกเพชร
คำสำคัญ: การเรียนรู้เชิงรุก
กระบวนการนิเทศสาหรับครู
การพัฒนาการครู
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระ
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุก 2) เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโดยใช้กระบวนการนิเทศภายใน และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของครูต่อการพัฒนาจัดการเรียนรู้เชิงรุก โรงเรียนประชานิคม 4 สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 โดยใช้หลักการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยมีกลุ่มเป้าหมายทั้งหมด 21 คน การวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนกลับ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์สภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกสาหรับครูและนักเรียน จานวน 2 ฉบับ แบบสอบถามการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโดยใช้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน จานวน 2 ฉบับ และแบบสอบถามความพึงพอใจของครูต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกโรงเรียนประชานิคม 4 จานวน 1 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยการวิเคราะห์เนื้อหา จัดหมวดหมู่ของเนื้อหาและนามาเสนอโดยความเรียง ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูผู้สอนโรงเรียนประชานิคม 4 สังกัด สานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 พบว่า ครูส่วนมากเขียนบนกระดานดา แจกใบงาน สอนตามเนื้อหาที่มีในแบบเรียน วัดผลจากการทาแบบฝึกหัดท้ายบท ส่วนมากจะเรียนแต่ในห้องเรียน จะได้ออกเรียนนอกห้องบ้างก็เฉพาะวิชาเกษตรและพละศึกษา สอนโดยขาดความรู้ที่ชัดเจนในการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ ขาดทักษะในการผลิตสื่อที่ทันสมัย สอนโดยไม่ค่อยเน้นการใช้สื่อ ยึดแบบเรียนสาเร็จรูปเป็นหลัก 2) การพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุกของครูโดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการและกระบวนการนิเทศติดตามการปฏิบัติจริงหลังผ่านการอบรม โดยการดาเนินการ 2 วงรอบ ใน 2 ด้าน คือ ด้านการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ และด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน พบว่า วงรอบที่ 2 มีค่าเฉลี่ยโดยรวมสูงกว่าวงรอบที่ 1 ทั้ง 2 ด้าน และ 3) การศึกษาความพึงพอใจของของครูต่อการพัฒนาการจัดการเรียนรู้เชิงรุก พบว่า ครูมีความพึงพอใจต่อวิธีการอบรมเพี่อส่งเสริมกระบวนการคิดในระดับมากที่สุด รองลงมาได้แก่บรรยากาศการฝึกอบรมและการนาความรู้ไปใช้ในระดับมาก
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/761
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Buppha.pdf547.7 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น