กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/653
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.advisorสมคิด นาคขวัญ-
dc.contributor.advisorชูศักดิ์ เอกเพชร-
dc.contributor.authorปิยะนุช บัวชุมen_US
dc.date.accessioned2019-06-18T04:04:23Z-
dc.date.available2019-06-18T04:04:23Z-
dc.date.issued2561-
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/653-
dc.description.abstractปัจจุบันการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ถือว่าจำเป็นต่อผู้บริหาร ยุคใหม่ที่ต้องใช้ในการเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการศึกษาในสถานศึกษาอย่างเร่งด่วน ประกอบกับนโยบายของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ที่ส่งเสริมสนับสนุนให้บุคลากรภายในสถานศึกษามีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารงาน และการจัดการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ จะเห็นได้ว่าปัญหาส่วนใหญ่มาจากการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาที่ขาดความรู้ ความสามารถในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และขาดการกระตุ้นให้ครูพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง ทำให้ระบบการบริหารจัดการขาดความคล่องตัวก่อให้เกิดความล่าช้าในการบริหารจัดการงานต่าง ๆ ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา ถือเป็นภารกิจหลักที่ผู้บริหารสถานศึกษาสามารถบริหารจัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล วัตถุประสงค์ของงานวิจัย คือ ศึกษาการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4 ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารและครูผู้สอน 1,761 คน กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย 317 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.88 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบ ได้แก่ การทดสอบที และการทดสอบค่าเอฟ ผลการวิจัยพบว่า การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก โดยเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณ และด้านการบริหาร งานทั่วไปตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่า ในภาพรวมและรายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และจำแนกตามประสบการณ์การสอน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการบริหารงานวิชาการ ด้านการบริหารงานงบประมาณและด้านการบริหารงานบุคคลมีความคิดเห็นไม่เห็นไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านการบริหารงานทั่วไปมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ดังนั้นผู้บริหารสถานศึกษาควรมีการพัฒนาบุคลากร โดยการฝึกอบรมปฏิบัติการเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อนำไปใช้ในด้านการการจัดการเรียนการสอนด้านการบริหารงานต่าง ๆ ของสถานศึกษา และควรพัฒนาระบบเทคโนโลยีให้มีความทันสมัยและดำเนินการใช้ประโยชน์อย่างคุ้มค่า เกิดประโยชน์ต่อคุณภาพผู้เรียนและชุมชนen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectเทคโนโลยีen_US
dc.subjectสารสนเทศen_US
dc.subjectเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารสถานศึกษาen_US
dc.titleการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารของสถานศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4en_US
dc.title.alternativeTHE USE OF INFORMATION TECHNOLOGY FOR MANAGEMENT OF SCHOOLS UNDER NAKHON SI THAMMARAT PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 4en_US
dc.typeOtheren_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
00 Cover_Piyanooch.pdf312.95 kBAdobe PDFดู/เปิด
02 Abstract_Piyanooch.pdf757.42 kBAdobe PDFดู/เปิด
03 Content_Piyanooch.pdf605.31 kBAdobe PDFดู/เปิด
04 Chapter 1_Piyanooch.pdf1.08 MBAdobe PDFดู/เปิด
05 Chapter 2_Piyanooch.pdf6.29 MBAdobe PDFดู/เปิด
06 Chapter 3_Piyanooch.pdf660.21 kBAdobe PDFดู/เปิด
07 Chapter 4_Piyanooch.pdf1.85 MBAdobe PDFดู/เปิด
08 Chapter 5_Piyanooch.pdf1.56 MBAdobe PDFดู/เปิด
10 Appendix_Piyanooch.pdf7.81 MBAdobe PDFดู/เปิด
09 Reference_Piyanooch.pdf1.07 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น