กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1094
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายว่าด้วยการแจ้งสิทธิและข้อมูลของผู้เสียหายในคดีอาญา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal Problems in the Notification of Rights and Information to Injured Person in Criminal Cases
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พงษ์พิทักษ์ เหล็กชูชาติ
อัคคกร ไชยพงษ์
คำสำคัญ: ผู้เสียหาย
กระบวนการยุติธรรมทางอาญา
การแจ้งสิทธิและข้อมูล
วันที่เผยแพร่: 14-กุม-2568
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัญหาการคุ้มครองการแจ้งสิทธิและข้อมูลให้กับผู้เสียหายในคดีอาญา 2) กฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการแจ้งสิทธิและข้อมูลให้กับผู้เสียหายในคดีอาญา 3) เสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิการได้รับแจ้งสิทธิและข้อมูลให้กับผู้เสียหายในคดีอาญา โดยอาศัยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสาร ได้แก่ กฎหมาย หนังสือตำรา บทความวิชาการ และข้อมูลสืบค้นออนไลน์ นำข้อมูลจากการศึกษามาวิเคราะห์อภิปรายผลด้วยวิธีการเรียบเรียงในรูปแบบพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า 1) ประเทศไทยร่วมลงนามผูกพันปฏิญญาสากลว่าด้วยหลักความยุติธรรมขั้นพื้นฐานสำหรับเหยื่ออาชญากรรมและการใช้อำนาจโดยมิชอบ ค.ศ. 1985 โดยข้อ 6 (เอ) ได้รับรองสิทธิการได้รับการแจ้งสิทธิและข้อมูลอันพึงทราบของผู้เสียหายในคดีอาญาไว้ กล่าวคือ การแจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงบทบาทและสิทธิของตน กำหนดเวลา และความคืบหน้าการดำเนินการทางคดี แต่ทว่าในปัจจุบันการอนุวัตสิทธิของประเทศไทยเกี่ยวกับหลักประกันสิทธิของผู้เสียหายในการได้รับแจ้งสิทธิและข้อมูลอันพึงทราบในคดีอาญาไม่ปรากฏการรับรองสิทธิไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 คงปรากฏการรับรองการแจ้งสิทธิและข้อมูลอันพึงทราบไว้อย่างไม่ครอบคลุมในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเท่านั้น 2) กฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับการแจ้งสิทธิ และข้อมูลให้กับผู้เสียหายในคดีอาญา ประมวลกฎหมายแห่งสหรัฐอเมริกา เรื่องที่ 18 บทบัญญัติที่ 3776 ข้อ (เอ) ได้บัญญัติรับรองเป็นหลักประกันสิทธิให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาในทุกชั้นกระบวนการ จะต้องแจ้งให้ผู้เสียหายทราบถึงสิทธิและข้อมูลอันพึงทราบในคดีอาญา อาทิ ในชั้นสอบสวนคดีแจ้งให้ทราบถึงสิทธิของผู้เสียหายที่พึงได้รับจากรัฐ ในชั้นพนักงานอัยการ แจ้งให้ทราบถึงความเป็นไปของคดี ในชั้นศาล แจ้งให้ทราบถึงกระบวนพิจารณาคดีและผลทางคดี ในชั้นบังคับโทษ แจ้งผลการบังคับโทษจำคุกและการปล่อยตัวผู้กระทำผิด เป็นต้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี รับรองสิทธิการแจ้งสิทธิและข้อมูลอันพึงทราบของผู้เสียหายไว้เช่นกัน อาทิ ในชั้นสอบสวนคดี กำหนดให้พนักงานสอบสวนต้องแจ้งถึงรายละเอียดแห่งคดี (มาตรา 48) ในชั้นพนักงานอัยการ กำหนดให้แจ้งผลทางคดี กรณีสั่งไม่ฟ้องคดี (มาตรา 171) เป็นต้น 3) แนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายเพื่อรับรองสิทธิการได้รับแจ้งสิทธิและข้อมูลให้กับผู้เสียหายในคดีอาญา ควรนำเอาแบบอย่างความคุ้มครองสิทธิการได้รับแจ้งสิทธิและข้อมูลอันพึงทราบของผู้เสียหายตามแบบอย่างกฎหมายของต่างประเทศมาปรับใช้ ดังนี้ (1) แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 มาตรา 68 วรรคท้าย เป็นว่า “รัฐพึงจัดให้มีการแจ้งสิทธิและขั้นตอนกระบวนการยุติธรรมทางอาญาให้ผู้เสียหายพึงทราบตั้งแต่กระบวนการสอบสวน การสั่งคดี การพิจารณาคดีและการบังคับโทษ ทั้งนี้ วิธีการและรายละเอียดให้เป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ” (2) แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้มีการกระบวนการแจ้งสิทธิและข้อมูลอันพึงทราบให้แก่ผู้เสียหายในทุกชั้นกระบวนการ ได้แก่ ชั้นสอบสวนคดี ชั้นสั่งคดี ชั้นพิจารณาคดี และชั้นบังคับโทษ
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1094
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is Laws68_Pongpitak.pdfบทความ, พงษ์พิทักษ์ เหล็กชูชาติ384.62 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น