กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1086
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชน ขององค์การบริหารส่วนตำบลเคียนซา อำเภอเคียนซา จังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Guidelines for developing the quality of public services of the Kiansa Subdistrict Administrative Organization, Kiansa District, Surat Thani Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สุจิรา กุลศิริ วาสนา จาตุรัตน์ สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม |
คำสำคัญ: | การพัฒนาคุณภาพ การให้บริการประชาชน องค์การบริหารส่วนตำบล |
วันที่เผยแพร่: | 2-มกร-2568 |
สำนักพิมพ์: | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
แหล่งอ้างอิง: | บทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเคียนซา 2) เปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเคียนซา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) หาแนวทางการพัฒนาคุณภาพในการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเคียนซา กำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลเคียนซา จำนวน 378 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ สถิติทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปวนทางเดียว การวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกแบบเจาะจงจากผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบล ปลัดองค์การบริหารส่วนตำบล หัวหน้าสำนักงานปลัด ผู้อำนวยการกองคลัง และผู้อำนวยการกองช่าง จำนวนทั้งสิ้น 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาและสร้างข้อสรุป ผลการศึกษาพบว่า 1) คุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเคียนซา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านความรวดเร็ว ด้านขั้นตอน ด้านบุคลากร ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์ 2) ผลการเปรียบเทียบคุณภาพการให้บริการประชาชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า เพศและอายุที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อคุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเคียนซาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาคุณภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลเคียนซา ประกอบด้วย (1) ด้านความรวดเร็ว กำหนดมาตรฐานเวลาการให้บริการ การให้บริการผ่านช่องทางออนไลน์ จัดตั้งแพลตฟอร์มออนไลน์ที่มีความหลากหลาย (2) ด้านขั้นตอน การรวมขั้นตอนการยื่นเอกสารหลาย ๆ ส่วนไว้ในจุดเดียว (3) ด้านบุคลากร ฝึกอบรมอย่างสม่ำเสมอเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสาร การแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า และการบริการด้วยใจ (4) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก จัดสถานที่รอคอยที่สะดวกสบาย มีป้ายบอกทางชัดเจนและเข้าใจง่ายเพื่อลดความสับสน และปรับปรุงพื้นที่ให้บริการให้ทันสมัย และ (5) ด้านเทคโนโลยีและอุปกรณ์ การนำระบบเทคโนโลยีดิจิทัลมาใช้เพื่อเพิ่มความสะดวกและลดขั้นตอน การนำเครื่องมืออัตโนมัติมาใช้เพื่อลดความแออัดของผู้ใช้บริการ |
รายละเอียด: | การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1086 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Politics and Government : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Sujira_Pol68.pdf | การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สุจิรา กุลศิริ | 277.91 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น