กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1082
ชื่อเรื่อง: แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วน ตำบลทุ่งระยะ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: GUIDELINES FOR DEVELOPING THE EFFICIENCY OF PUBLIC SERVICE OF TUNG RAYA SUBDISTRICT ADMINISTRATIVE ORGANIZATION, SAWI DISTRICT, CHUMPHON PROVINCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิราภา เดชวิเศษ
สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม
วาสนา จาตุรัตน์
คำสำคัญ: การพัฒนาประสิทธิภาพ
การให้บริการประชาชน
องค์การบริหารส่วนตำบล
วันที่เผยแพร่: 2-มกร-2568
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชน 2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) ศึกษาแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งระยะ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลทุ่งระยะ อำเภอสวี จังหวัดชุมพร จำนวน 400 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้แบบสัมภาษณ์ เป็นเครื่องมือเก็บข้อมูล จากกลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ประกอบด้วยผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งระยะและข้าราชการที่มีอายุงาน 3 ปีขึ้นไป จำนวน 10 คน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาแล้วนำมาสร้างข้อสรุปผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านสถานที่สิ่งอำนวยความสะดวก ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ด้านกระบวนการและขั้นตอน และด้านช่องทางการให้บริการ 2) ผลการเปรียบเทียบประสิทธิภาพในการให้บริการประชาชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลพบว่า อายุและระดับการศึกษาที่แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งระยะอำเภอสวี จังหวัดชุมพร ด้านกระบวนการ ต้องใช้ภาษาหรือการสื่อสารที่เกิดความเข้าใจง่ายและไขข้อสงสัยของประชาชน ด้านช่องทางการให้บริการ ต้องมีรูปแบบการติดต่อที่เข้าใจง่าย สามารถเข้าถึงบริการได้อย่างทั่วถึง ด้านเจ้าหน้าที่ผู้ให้บริการ ต้องมีวิธีการสื่อสารและการแสดงออก ที่ดี เพื่อที่จะช่วยเหลือและเข้าใจความต้องการของประชาชนผู้มาติดต่อได้อย่างถูกต้อง และด้านสถานที่ สิ่งอำนวยความสะดวก ต้องมีภูมิทัศน์ที่สะดวกสบายและปลอดภัย ประชาชนสามารถเข้าถึงได้ง่าย
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1082
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Jirapa_Pol68.pdfการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จิราภา เดชวิเศษ390.19 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น