กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1081
ชื่อเรื่อง: แนวทางการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน กรณีศึกษา ชุมชนมะขามเตี้ย อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines for promoting community strength : A case study of Makham Tia Community, Mueang District, Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จิรนันท์ แสงสุวรรณ์
ชนัญชิดา ทิพย์ญาณ
เพ็ญนภา สวนทอง
คำสำคัญ: ชุมชนเข้มแข็ง
ผู้นำชุมชน
การมีส่วนร่วม
วันที่เผยแพร่: 2-มกร-2568
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบริบทของชุมชนและปัญหาอุปสรรคต่อการส่งเสริม ความเข้มแข็งของชุมชน 2) ศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความเข้มแข็งของชุมชน และ 3) เสนอแนวทางการ ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัย เชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 30 คน ได้แก่ นายกองค์การบริหาร ส่วนตำบลและสมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล 6 คน ผู้ใหญ่บ้าน 4 คน ตัวแทนองค์กรในชุมชน 10 คน ประชาชน 4 คน นักวิชาการ 3 คน และภาคีเครือข่าย 3 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความและพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุมชนมะขามเตี้ย เป็นชุมชนกึ่งเมืองกึ่งชนบท และชุมชนพหุวัฒนธรรม เศรษฐกิจอยู่ในสภาวะตกต่ำ สมาชิกส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ในบริบทด้านความเข้มแข็ง มีภาคีเครือข่ายมากมายตั้งอยู่ในพื้นที่ ซึ่งชุมชนมีความพยายามในการยกระดับคุณภาพชีวิต ของสมาชิกในทุกมิติ สิ่งที่เป็นปัญหาอุปสรรคต่อการส่งเสริมความเข้มแข็ง โดยหลักคืองบประมาณ ที่ไม่เพียงพอต่อการดำเนินการต่าง ๆ ในชุมชน 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน มะขามเตี้ย เรียงลำดับ ดังนี้ 1) ผู้นำ 2) ภาคีเครือข่าย 3) การพึ่งพาตนเองของชุมชน 4) การจัดการ ตนเองของชุมชน 5) การมีส่วนร่วม 6) สังคม 7) ทุน และ 8) ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตามลำดับ และ 3) แนวทางการส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชนมะขามเตี้ย อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี ชุมชนมีแนวทางการส่งเสริมความเข้มแข็งภายใต้แนวคิด “มะขามเตี้ยแห่ง ความสุข” โดยการทำงานร่วมกันของทุกภาคส่วนและอาศัยหลักการเรียนรู้ร่วมกัน ซึ่งมุ่งพัฒนา 4 ด้าน ได้แก่ (1) ส่งเสริมด้านอาชีพและรายได้ (2) การจัดการสิ่งแวดล้อม ชุมชนปลอดขยะ (3) ส่งเสริม การสร้างพื้นที่กลางในชุมชน และ (4) การส่งเสริมด้านสุขภาพร่างกายและจิตใจ เพื่อให้ชุมชน ได้แสดงออกถึงศักยภาพของตนเอง และสามารถจัดการตนเองได้ในทุกมิติอย่างยั่งยืน
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1081
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Jiranan_Pol68.pdfการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, จิรนันท์ แสงสุวรรณ์421.55 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น