กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1065
ชื่อเรื่อง: | ปัญหาทางกฎหมายการกำหนดตัวผู้กระทำความผิดจากกล้องจับความเร็ว |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Problem in the Law of Identifying the Culprit from the Speed Camera |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ตติยา เทพพันธ์ จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ |
คำสำคัญ: | การกำหนดตัวผู้กระทำความผิด กล้องตรวจจับความเร็ว ใบสั่งจราจร |
วันที่เผยแพร่: | 22-เมษ-2567 |
สำนักพิมพ์: | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
แหล่งอ้างอิง: | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) แนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับการกำหนดตัวผู้กระทำความผิดในคดีอาญา 2) กฎหมายของประเทศไทยในการออกใบสั่งจราจรจากกล้องตรวจจับความเร็ว และ 3) การกำหนดตัวบุคคลผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจราจรจากกล้องตรวจจับความเร็ว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากหนังสือ ตำรา บทความวิชาการ กฎหมาย สื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยนำข้อมูลจากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียงในรูปแบบพรรณนาความเพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางของกฎหมายในการกำหนดตัวผู้กระทำความผิดจากกล้องตรวจจับความเร็ว ผลจากการศึกษาพบว่า 1) ในการพิสูจน์ข้อเท็จจริงในคดีอาญาต่อศาลนั้น โดยทั่วไปโจทก์มีภาระการพิสูจน์หรือมีหน้าที่ในการนำพยานหลักฐานเข้าพิสูจน์ความผิดของจำเลยจนกว่าศาลจะเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยได้กระทำความผิดจริง หากโจทก์ไม่สามารถหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์จนปราศจากข้อสงสัยได้ว่าจำเลยกระทำความผิดจริง ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง จึงอาจกล่าวได้ว่าโดยทั่วไปแล้วในคดีอาญา โจทก์จะมีหน้าที่ทำทุกวิถีทางเพื่อแสวงหาพยานหลักฐานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลย หรือที่เรียกว่า โจทก์ในคดีอาญามีภาระการพิสูจน์ 2) กฎหมายของประเทศไทย การออกใบสั่งจราจรจากกล้องตรวจจับความเร็วตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140 ได้ให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานจราจรในการออกใบสั่ง ในกรณีที่เจ้าพนักงานจราจรพบว่าผู้ขับขี่ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก หรือตามกฎหมายอื่นอันเกี่ยวกับรถหรือการใช้ทางที่เป็นความผิด ที่มีโทษปรับสถานเดียวหรือมีโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งเดือนและมีโทษปรับ เจ้าพนักงานจราจรจะว่ากล่าวตักเตือน หรือออกใบสั่งให้ผู้ขับขี่นั้นชำระค่าปรับตามที่เปรียบเทียบก็ได้ และ 3) การกำหนดตัวบุคคลผู้กระทำความผิดตามกฎหมายจราจรจากกล้องตรวจจับความเร็ว ซึ่งตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140/1 บัญญัติไว้ว่า ในกรณีที่ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถเป็นผู้กระทำความผิด เว้นแต่สามารถพิสูจน์ได้ว่าผู้อื่นเป็นผู้ขับขี่ ขัดต่อกฎหมายอาญาและรัฐธรรมนูญ โดยการลงโทษทางอาญานั้น รัฐต้องตีความกฎหมายโดยเคร่งครัดตามหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่า บุคคลเป็นผู้บริสุทธิ์ จนว่าศาลจะพิพากษาว่ามีความผิด โดยหลักกฎหมายนี้มีค่าบังคับเช่นเดียวกับกฎหมายรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2560 มาตรา 29 เมื่อพิสูจน์ไม่ได้ว่าความผิดที่ผู้ขับขี่กระทำลงไปนั้นเป็นการกระทำของเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถก็จะลงโทษเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถไม่ได้ เพราะไม่ใช่ผู้กระทำความผิด ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะดังนี้ 1) ข้อเสนอแนะเชิงกฎหมาย ให้ยกเลิกพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 140/1 ในส่วนที่ให้สันนิษฐานว่าเจ้าของรถหรือผู้ครอบครองรถนั้นเป็นผู้กระทําความผิดตามที่ระบุในใบสั่ง 2) ข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย การแก้ไขเพิ่มเติมข้อความในแบบพิมพ์ใบสั่งใหม่ให้สอดคล้องกับหลักกฎหมายจราจร พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 |
รายละเอียด: | การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1065 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
is LAW67 Tatiya.pdf | บทความ, ตติยา | 315.05 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น