กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1044
ชื่อเรื่อง: แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองในท้องถิ่น ภายใต้องค์การบริหารส่วนตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Guidelines For Promoting Public Participation In Local Administration Under Khuan Thong Subdistrict Administrative Organization, Khanom District, Nakhon Si Thammarat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัณณิตา พรหมเมศร์
วาสนา จาตุรัตน์
สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม
คำสำคัญ: การมีส่วนร่วมของประชาชน
การบริหารงานปกครอง
องค์การบริหารส่วนตำบล
วันที่เผยแพร่: 15-พฤศ-2566
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงาน ปกครองในท้องถิ่น 2) เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองในท้องถิ่น โดยจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) แนวทางส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนต่อการ บริหารงานปกครองในท้องถิ่น ภายใต้องค์การบริหารส่วนตำบลควนทอง อำเภอขนอม จังหวัด นครศรีธรรมราช เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ กำหนดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่ม อย่างง่ายจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในเขตการบริหารงานปกครองในท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วน ตำบลควนทอง จำนวน 386 คน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.87 สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน สถิติที และสถิติเอฟ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ คัดเลือกผู้ให้ข้อมูลสำคัญด้วยวิธีการเลือก ตัวอย่างแบบเจาะจงจากคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลควนทอง ข้าราชการ ผู้นำ ท้องถิ่น และตัวแทนภาคประชาชน จำนวน 12 คน อาศัยแบบสัมภาษณ์เชิงลึกในการเก็บรวบรวม ข้อมูล ใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหาโดยการตีความสร้างข้อสรุป ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของประชาชน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านการมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ด้านการมีส่วนร่วมในการ ปฏิบัติการ ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล 2) ผลการ เปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของประชาชนจำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า ประชาชนที่มีอายุ อาชีพ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และระยะเวลาที่อยู่อาศัยต่างกันมีความคิดเห็นเกี่ยวกับการมีส่วนร่วม ของประชาชนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางส่งเสริมการมีส่วน ร่วมของประชาชนต่อการบริหารงานปกครองในท้องถิ่นภายใต้องค์การบริหารส่วนตำบลควนทอง คือ 1) ด้านการมีส่วนร่วมในการตัดสินใจ ควรส่งเสริมให้สมาชิกในองค์การบริหารส่วนตำบลหรือผู้นำชุมชน เป็นผู้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ของหน่วยงานให้มากขึ้น 2) ด้านการมีส่วนร่วมใน การปฏิบัติการ ควรส่งเสริมการประชาสัมพันธ์ทางโซเชียลที่สร้างสรรค์และดึงดูดความน่าสนใจ 3) ด้าน การมีส่วนร่วมในผลประโยชน์ ควรส่งเสริมการจัดสรรงบประมาณและสอบถามความต้องการของ ประชาชน และ 4) ด้านการมีส่วนร่วมในการประเมินผล ควรส่งเสริมให้ประชาชนสามารถเข้าถึงและ ตรวจสอบได้อย่างเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน
รายละเอียด: บทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1044
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_POL66 Punnita.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี1.24 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น