กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1041
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้า แฟชั่นของผู้บริโภคทางสื่อสังคมออนไลน์ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Relationship between Online Marketing Mix Factors and Fashion Clothing Purchasing Decisions of Consumers through Social Media in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทราภรณ์ คำแก้ว
อัจฉราวรรณ รัตนพันธ์
คำสำคัญ: ส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์
เสื้อผ้าแฟชั่น
การตัดสินใจซื้อ
สื่อสังคมออนไลน์
วันที่เผยแพร่: 14-พฤศ-2566
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์เสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคทางสื่อสังคมออนไลน์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อศึกษาระดับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นทางสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคทางสื่อสังคมออนไลน์ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถาม เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 ค่าสถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการศึกษาพบว่า 1) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์เสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคทางสื่อสังคมออนไลน์ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีภาพรวม อยู่ในระดับมาก (x ̅ = 3.56) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยด้านการรักษาความเป็นส่วนตัวมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านการให้บริการส่วนบุคคล และด้านการส่งเสริมทางการตลาด 2) ระดับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นทางสื่อสังคมออนไลน์ของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาพรวม พบว่า ระดับความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (x ̅= 3.65) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการค้นหาข้อมูล รองลงมาได้แก่ ด้านการรับรู้ถึงความต้องการ ด้านการประเมินผลทางเลือก ด้านการตัดสินใจซื้อและความตั้งใจซื้อ และด้านพฤติกรรมภายหลังการซื้อ ตามลำดับ 3) ผลค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่ายของเพียร์สันระหว่างปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์กับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคทางสื่อสังคมออนไลน์ ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า มีค่าสหสัมพันธ์อยู่ในระดับปานกลาง (r= 0.480) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดออนไลน์มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการตัดสินใจซื้อเสื้อผ้าแฟชั่นของผู้บริโภคในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
รายละเอียด: บทความ, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1041
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_MBA66 chantraporn.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี1.23 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น