กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1035
ชื่อเรื่อง: อำนาจฟ้องคดีอาญาของบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณี ภรรยาถูกทำร้ายจนเป็นเหตุให้แท้งลูก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Power to Sue Criminal Prosecution towards an Illegitimate Fathers in case of a Wife Being Abused and Caused Miscarriage
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: นาคนคร วิมลศรี
อัคคกร ไชยพงษ์
คำสำคัญ: บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
อำนาจฟ้องคดีอาญา
ผู้เสียหายโดยนิตินัย
วันที่เผยแพร่: 1-กัน-2566
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญาของบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีหญิงถูกทำร้ายจนเป็นเหตุให้แท้งลูกในประเทศไทย 2) ศึกษาแนวคิดและทฤษฎีเกี่ยวกับอำนาจฟ้องคดีอาญา ความเป็นผู้เสียหายในคดีอาญา รวมไปถึงหลักการคุ้มครองการมีสภาพบุคคลของทารกในครรภ์มารดา 3) ศึกษาบทกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับอำนาจฟ้องคดีอาญาและสิทธิของผู้เสียหายทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ และ 4) เสนอแนวทางแก้ไขกฎหมายเพื่อการรับรองอำนาจฟ้องคดีอาญาให้แก่บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของทารกในครรภ์มารดา ซึ่งเป็นหญิงที่ถูกทำร้ายจนเป็นเหตุให้แท้งลูกในประเทศไทย โดยอาศัยการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพจากการรวบรวมข้อมูลเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ กฎหมาย หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ คำพิพากษาของศาล และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำข้อมูลมาศึกษาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียงในรูปแบบพรรณนาความ จากการศึกษาพบว่า ระบบการฟ้องคดีอาญาตามหลักการสากลจะมี 3 ลักษณะ ได้แก่ ฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหาย ฟ้องคดีอาญาโดยประชาชน และฟ้องคดีอาญาโดยรัฐ ประเทศไทยยอมรับในหลักอำนาจฟ้องคดีโดยผู้เสียหายและโดยรัฐ จึงทำให้บุคคลที่ไม่ใช่ผู้เสียหายไม่อาจฟ้องคดีอาญาได้ รวมไปถึงบิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย กรณีภรรยาถูกทำร้ายจนเป็นเหตุให้แท้งลูก โดยบุคคลที่เป็นผู้เสียหายตามกฎหมายของประเทศไทยสามารถดำเนินคดีได้ทั้งความผิดต่อส่วนตัวและความผิดต่อรัฐ และไม่ตัดสิทธิการฟ้องคดีโดยฝ่ายรัฐและฝ่ายผู้เสียหาย ด้วยเหตุนี้การฟ้องคดีอาญาโดยผู้เสียหายของประเทศไทยจึงเปิดกว้าง แต่ทั้งนี้จะต้องเป็น “ผู้เสียหายโดยนิตินัย” ในสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ได้ยอมรับในหลักการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชน โดยถือว่าประชาชนทุกคนเป็นผู้เสียหาย ด้วยเหตุนี้ อำนาจฟ้องคดีอาญาจึงเป็นของทุกคน ทำให้ไม่มีการนำเอาส่วนได้เสียของบุคคลมาปะปนกับส่วนได้เสียของสังคม จึงไม่มีรูปแบบการฟ้องคดีในความผิดต่อส่วนตัวที่ผู้เสียหายสามารถให้เจตจำนงในการที่จะไม่ฟ้องหรือยอมความได้ และจากระบบการดำเนินคดีอาญาโดยประชาชนของสหราชอาณาจักร (อังกฤษ) ดังกล่าวนี้ได้ส่งผลทำให้บุตรที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย สามีภรรยาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย บิดามารดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย รวมไปถึงผู้นิยมรักร่วมเพศสามารถเป็นผู้ทรงสิทธิในการดำเนินคดีอาญาได้อย่างกว้างขวางตามไปด้วย ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะให้นำมาปรับใช้เพื่อรับรองอำนาจฟ้องให้แก่บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายกรณีที่หญิงในฐานะภรรยาถูกทำร้ายจนเป็นเหตุให้แท้งลูกตามความผิดของประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297 (5) ซึ่งจะทำให้ “ชาย” ซึ่งมีสถานะเป็น “บิดาที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” ของทารกในครรภ์หญิง และเป็น “สามีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย” ของหญิงที่ถูกทำร้ายจนเป็นเหตุให้แท้งลูก สามารถเป็นผู้เสียหายที่จะทรงสิทธิในการฟ้องคดีอาญาได้ โดยทำการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5 (2) วรรคสอง เป็นความว่า “กรณีที่หญิงถูกทำร้ายจนเป็นเหตุให้แท้งลูก ให้ผู้เป็นบิดาไม่ว่าจะชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ก็ตามของทารกในครรภ์หญิงเป็นผู้เสียหายด้วย”
รายละเอียด: บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1035
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is66law-Naknakorn.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต916.71 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น