กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1017
ชื่อเรื่อง: การประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดกงตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยใช้รูปแบบซิปเปี้ยสท์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: CIPPIEST MODEL EVALUATION ON PROJECT INSPIRING ETHICS AND MORAL ACCORDING TO SUFFICIENCY ECONOMY PHILOSOPHY OF WAT KONGTAK SCHOOL, SURATTHANI PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: วิชวุฒิ เพ็ชรรัตน์
มัทนียา พงศ์สุวรรณ
ญาณิศา บุญจิตร์
คำสำคัญ: การประเมินโครงการ
คุณธรรมจริยธรรม
หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วันที่เผยแพร่: 5-เมษ-2566
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดกงตาก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 โดยใช้รูปแบบซิปเปี้ยสท์ในประเด็นต่อไปนี้ 1) การประเมินบริบท 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า 3) การประเมินกระบวนการ 4) การประเมินผลผลิตประกอบด้วย 4.1) การประเมินกระทบ 4.2) การประเมินประสิทธิผล 4.3) การประเมินความยั่งยืน 4.4) การประเมินการถ่ายทอดส่งต่อ ผู้ให้ข้อมูล จำนวน 426 คน ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้รับผิดชอบโครงการ ครูผู้สอน จำนวน 24 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ผู้ปกครองและนักเรียน จำนวน 402 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบช่วงชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบบันทึกคุณลักษณะอันพึงประสงค์ แบบบันทึกคะแนน แบบสัมภาษณ์ มีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 แบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้อง 1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินด้านบริบท พบว่าโครงการมีความจำเป็นต้องดำเนินการ วัตถุประสงค์มีความเหมาะสม และสอดคล้องกับกิจกรรม 2) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่าโครงการมีงบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่ วัสดุอุปกรณ์เหมาะสมและเพียงพอ และมีระยะเวลาในการดำเนินโครงการเหมาะสม 3) การประเมินด้านกระบวนการโดยภาพรวมมีผลการประเมินอยู่ในระดับมาก 4) การประเมินด้านผลผลิต ประกอบด้วย 4.1) การประเมินด้านผลกระทบพบว่านักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 93.53 4.2) การประเมินด้านประสิทธิผล พบว่านักเรียนมีผลการประเมินความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสูงกว่าก่อนเข้าร่วมกิจกรรมและผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 96.28 ส่วนความพึงพอใจของนักเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 4.3) การประเมินด้านความยั่งยืน โดยภาพรวมมีผลการประเมินในระดับมากที่สุด 4.4) การประเมินด้านการถ่ายทอดส่งต่อ โดยภาพรวมมีผลการประเมินในระดับมาก และเมื่อเทียบกับเกณฑ์การตัดสินถือว่าผ่านเกณฑ์ทั้ง 8 ด้าน ดังนั้นควรดำเนินการโครงการส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมนักเรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงโรงเรียนวัดกงตากต่อไป
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1017
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is amd Witchawut66.pdfการค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี829.08 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น