กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1012
ชื่อเรื่อง: สภาพการดำเนินธุรกิจไข่เค็มไชยาที่ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในอำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Business Conditions of Chaiya Salted Eggs Using A Geographical Indication (GI) in Chaiya District, Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: พัชนี ทองพิทักษ์
พิมพ์แพร ศรีสวัสดิ์
คำสำคัญ: การดำเนินธุรกิจไข่เค็มไชยา
สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI)
กลยุทธ์ทางการตลาด 4P’s
วันที่เผยแพร่: 24-มีน-2566
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพตลาดของธุรกิจไข่เค็มไชยาที่ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) ในปัจจุบัน 2) ศึกษาความสำเร็จและสภาพปัญหาของผู้ประกอบการธุรกิจไข่เค็มไชยาที่ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) ในปัจจุบัน 3) ศึกษากลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจไข่เค็มไชยา ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ ผู้ประกอบการไข่เค็มไชยาที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เครื่องหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) จ านวน 24 รายในตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี เก็บข้อมูลโดยใช้การสัม ภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ที่มีค่าความสอดคล้อง (IOC) ของเนื้อหาที่ 1.00 ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพตลาดของธุรกิจไข่เค็มไชยาที่ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ (GI) ในปัจจุบัน ลูกค้าทราบถึงคุณสมบัติหรือคุณลักษณะเฉพาะของสินค้า ที่มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนที่อื่น มีการยอมรับในมาตรฐานและมีความมั่นใจในสินค้า ซึ่งตราสัญลักษณ์(GI) ถือเป็นจุดเด่นของสินค้า 2) ความสำเร็จและสภาพปัญหาของธุรกิจไข่เค็มไชยาที่ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) ในปัจจุบัน การดำเนินธุรกิจถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เนื่องจากเป็นที่ยอมรับและเป็นที่รู้จักของลูกค้า ส่วนสภาพปัญหาพบว่า ผู้ผลิตไม่รักษามาตรฐานตามข้อกำหนดของสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) รวมถึงปริมาณไข่เป็ดสดที่เป็นวัตถุดิบหลักมีไม่เพียงพอ และเกิดปัญหาจากการแย่งตลาดกับตลาดไข่เค็มที่ไม่ได้รับเครื่องหมาย(GI) ที่มีต้นทุนในการผลิตน้อยกว่า 3) กลยุทธ์ทางการตลาดของธุรกิจไข่เค็มไชยาที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) ผู้ประกอบการมีการเลี้ยงเป็ดเอง โดยเลี้ยงเป็ดพันธุ์กากีแคมเบลล์กับพันธุ์พื้นเมือง ซึ่งจะให้ไข่แดงที่ใหญ่และมีสีแดงเข้ม ประกอบกับการผลิตที่ใช้ภูมิปัญญาชาวบ้าน ทำให้ได้ไข่เค็มที่แดงจัดและไม่มีกลิ่นคาวต่างจากไข่เค็มที่อื่น ในด้านการผลิตจะได้รับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชน(มผช.) อีกทั้งมีการกำหนดราคาขายกล่องใหญ่ 12 ฟองราคา 100 บาท กล่องเล็ก 4 ฟองราคา 35 บาท 3 กล่อง 100 บาท ซึ่งผู้ประกอบการได้กำหนดราคาขายในอัตรานี้มานานแล้ว แต่ในอนาคตมีแนวโน้มที่จะขึ้นราคา เนื่องจากมีต้นทุนที่เพิ่มขึ้น ไข่เค็มไชยาภายใต้ตราสัญลักษณ์สิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์(GI) สามารถหาซื้อได้ง่าย เพราะมีจำหน่ายที่ร้านขายของฝากหน้าวัดสวนโมกข์ และสองฝั่งถนนเอเชียช่วงเขตอำเภอไชยา มีการขายออนไลน์ มีการเข้าร่วมงาน“OTOP”สินค้าภูมิปัญญาไทย แต่พบว่า ยังขาดการประชาสัมพันธ์หรือการสนับสนุนจากองค์กรภาครัฐ ดังนั้นหน่วยงานภาครัฐควรสนับสนุนโดยจัดเป็นงานของดีประจำจังหวัดทุกปี และมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1012
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is mba patchanee 66.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต834.74 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น