กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/962
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนา องค์การบริหารส่วนตำบลครน อำเภอสวี จังหวัดชุมพร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Power Relationship between the Area Leaders and the Local in the Preparation of the Development Plan of Kron District Administration Sawi District Chumphon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ศิริลักษณ์ พรมบังเกิด
สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม
วาสนา จาตุรัตน์
คำสำคัญ: ความสัมพันธ์เชิงอำนาจ
ผู้นำท้องที่
ผู้นำท้องถิ่น
แผนพัฒนาท้องถิ่น
วันที่เผยแพร่: 22-กรก-2565
สำนักพิมพ์: การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
แหล่งอ้างอิง: สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ความสัมพันธ์ทางกฎหมายระหว่างผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น (2) ความสัมพันธ์ทางปฏิบัติระหว่างผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่น (3) ปัญหาและอุปสรรคขององค์การบริหารส่วนตำบลครน ในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (4) แนวทางการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ตลอดจนข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลครน การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยวิธีปรากฎการณ์วิทยา ใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) และการสังเกตแบบมีส่วนร่วม (Participant Observation) ผู้ให้ข้อมูลหลักแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มผู้นำ ได้แก่ ผู้นำท้องที่ ผู้นำท้องถิ่น และกลุ่มประชาคมที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการจัดทำแผนพัฒนาองค์การบริหารส่วนตำบลครน รวมทั้งสิ้น 13 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลแบบการพรรณนาวิเคราะห์ภายในกรอบทฤษฎีที่กำหนดไว้ สร้างข้อสรุปแบบอุปนัยบนพื้นฐานของการสังเกตการณ์หรือข้อเท็จจริงโดยการนำข้อมูลที่ได้จากการลงพื้นที่ในภาคสนามมาเชื่อมโยงกับแนวคิดทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องที่ได้จากการทบทวนวรรณกรรมผ่านทางเอกสารและผลของการวิจัยต่าง ๆ ผลการวิจัยพบว่า (1) คณะกรรมการหมู่บ้านเป็นกลไกอำนาจเชิงกฎหมายที่ก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่นในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่น (2) การทางานร่วมกันเพื่อก่อให้เกิดความสำเร็จต้องมีกระบวนการบริหารจัดการที่มีความสอดคล้องและเป็นไปในทิศทางเดียวกันมีทรัพยากรในการบริหารที่เพียงพอพร้อมต่อการทำงานโดยเฉพาะในด้านของ คน (Man) และวัสดุอุปกรณ์ (Material) ได้รับความร่วมมือจากทุกฝ่ายตั้งแต่เริ่มต้นจนเสร็จสิ้น กระบวนการทำงาน ผู้ร่วมงานต้องเข้ามามีส่วนร่วมในการทำงานด้วยความเต็มใจหรือความสมัครใจตามทักษะความรู้ ความสามารถเปิดโอกาสให้ผู้ร่วมงานสามารถแสดงความคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะในการทำงานได้อย่างอิสระและเท่าเทียมกัน โดยไม่ถูกเลือกปฏิบัติและมีการสื่อสารอย่างชัดเจนตรงไปตรงมาเกี่ยวกับรายละเอียดของงาน นอกจากนี้ผู้นำท้องที่และผู้นำท้องถิ่นต้องมีการแสดงออกในด้านของภาวะผู้นำไม่ยึดติดกับบทบาท และอำนาจหน้าที่ตามระเบียบกฎหมายหรือข้อบังคับ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมรับฟังและเคารพในความคิดเห็นของผู้ร่วมงานสร้างความสัมพันธ์ที่ดีในการทำงานโดยการให้กำลังใจและให้คำปรึกษาหรือคำแนะนาอย่างไม่ถือตัว (3) ระเบียบกฎหมายที่เปลี่ยนแปลงอย่างเป็นพลวัตมีผลต่อการมีส่วนร่วมโดยปัญหาและอุปสรรคที่พบมีดังนี้ 1) ประชาชนไม่เข้าใจถึงความสำคัญของบทบาทการมีส่วนร่วม 2) ประชาชนยังไม่เข้าใจถึงความสำคัญของแผนพัฒนาท้องถิ่น 3) งบประมาณไม่เพียงพอต่อปัญหาและความต้องการของประชาชน ดังนั้น การส่งเสริมการมีส่วนร่วมต้องทำในเชิงรุกให้สอดคล้องกับวิถีการดำเนินชีวิตของคนในพื้นที่ ในการจัดทำแผนพัฒนา (4) แนวทางในการแก้ไขปัญหาและอุปสรรค ดังนี้ 1) การจัดโครงการอบรม/กิจกรรม ชี้แจง หรือประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเ ข้าใจถึง บทบาทการมีส่วนร่วม 2) ประชาสัมพันธ์ในหลากหลายช่องทาง/จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องแผนพัฒนาท้องถิ่น 3) จัดลำดับความสาคัญของโครงการ ประสานของบประมาณสนับสนุนในโครงการที่เกินศักยภาพ และข้อเสนอแนะในการจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์การบริหารส่วนตำบลครน คือ 1) ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของหน่วยงานทุกภาคส่วนให้เข้ามามีส่วนร่วมในการลงประชาคมท้องถิ่น 2) ชี้แนะให้ประชาชนเข้าใจถึงแนวทางการพัฒนาในแต่ละปีให้เหมาะสมกับงบประมาณ 3) จัดประชาคมในช่วงเวลาที่เหมาะสม 4) ใช้ภาษาที่เข้าใจง่ายเพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ตรงกันของประชาชนและเจ้าหน้าที่
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/962
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_pol65 Sirilak.pdf4.37 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น