กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/960
ชื่อเรื่อง: การเสริมพลังอำนาจชุมชนกับบทบาทของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติด กรณีศึกษา ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จันทรา มณีฉาย
อัศว์ศิริ ลาปีอี
สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม
คำสำคัญ: การเสริมพลังอำนาจชุมชน
บทบาทของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
วันที่เผยแพร่: 22-กรก-2565
สำนักพิมพ์: การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
แหล่งอ้างอิง: สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
บทคัดย่อ: การค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทบทวนบทบาทของศูนย์ปฏิบัติการและป้องกันการปราบปรามยาเสพติด 2) ศึกษาปัจจัยการเสริมพลังอำนาจชุมชนกับบทบาทของศูนย์ปฏิบัติการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด 3) นำเสนอรูปแบบการเสริมพลังอำนาจชุมชน ผ่านปฏิบัติการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการแก้ปัญหายาเสพติด ตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในตำบลท่าชนะ อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 371 คน สำหรับการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ปฏิบัติงานสังกัดศูนย์ปฏิบัติการและป้องกันการปราบปรามยาเสพติด จำนวน 15 ราย ซึ่งได้มาด้วยวิธีคัดเลือกแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้วิธีการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า 1) บทบาทของศูนย์ปฏิบัติการและป้องกันการปราบปรามยาเสพติดในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก โดยมีบทบาทดังนี้ ปฏิบัติหน้าที่อื่นเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์พลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดตามที่รับมอบหมาย ดำเนินการและประสานงานให้เกิดผลในทางปฏิบัติเชิงบูรณาการ จัดชุดปฏิบัติการสนับสนุนการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพผู้ติดยาเสพติดจัดชุดสืบสวนตรวจสอบข้อเท็จจริงคำร้องเรียนของประชาชนและให้มีผลการปฏิบัติอย่างรวดเร็ว จัดกิจกรรมด้านการพัฒนารองรับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดที่ละเลิกพฤติการณ์มิให้กลับมามีพฤติการณ์เกี่ยวข้องยาเสพติด มีฐานข้อมูลของผู้เสพ ผู้ติด ผู้ค้ายาเสพติดทุกรายในพื้นที่ จัดชุดปราบปรามยาเสพติด กดดัน และ กวาดล้างผู้ค้ายาเสพติดในพื้นที่รับผิดชอบ รายงานผลการปฏิบัติงานและสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่ที่รับผิดชอบให้ทราบทุกระยะ จัดชุดวิทยากรและชุดชุมชนสัมพันธ์ ปลุกพลังมวลชนในพื้นที่รับผิดชอบให้ตื่นตัวและร่วมตัวกันต่อต้านยาเสพติด จัดทำและส่งเสริมสนับสนุนแนะนำการจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับอำเภอและระดับตำบล และเสนอผู้มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาให้คุณให้โทษ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่ ตามลำดับ 2) ปัจจัยการเสริมพลังอำนาจชุมชน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านสร้างความไว้วางใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา ด้านการประสานความร่วมมือ ด้านกระบวนการเรียนรู้ของกลุ่ม ด้านการสร้างทีมงาน ด้านการสื่อสารที่มีประสิทธิผล ด้านความยึดมั่นผูกพันต่อองค์กร ด้านการมีส่วนร่วม และด้านความตระหนักท้องถิ่น ตามลำดับ 3) รูปแบบวิธีการเสริมพลัง อำนาจชุมชนเชื่อมโยงกับการแสดงออกถึงความเชื่อมั่นระหว่างสมาชิกในชุมชนซึ่งกันและกัน มีการประสานความร่วมมือเชิงบูรณาการสำหรับแก้ไขปัญหายาเสพติดทั้งในและนอกชุมชน มีการให้ข้อมูลสำคัญต่อการจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด มีกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนหลากหลายรูปแบบโดยเฉพาะการส่งเสริมกลไกให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการจัดการภายในชุมชน อันส่งผลให้ปัญหายาเสพติดในชุมชนลดลงได้
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/960
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_pol65 Jantra.pdf4.76 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น