กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/952
ชื่อเรื่อง: ปัญหาทางกฎหมายในการนำทรัพย์สินที่เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปราม ยาเสพติดมีคำสั่งให้ยึดไว้ชั่วคราวออกขายทอดตลาด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal problems in bringing the assets that the secretary-general of the Narcotics Control Board ordered to be temporarily confiscated for auction
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จักรกฤษ ศรีขวัญ
จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ
คำสำคัญ: การขายทอดตลาด
เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด
คดียาเสพติด
วันที่เผยแพร่: 24-มิถ-2565
สำนักพิมพ์: การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต
แหล่งอ้างอิง: สาขาวิชานิติศาสตร์
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคลผู้ถูกคำสั่งการ ขายทอดตลาดในชั้นก่อนฟ้องคดีในคดียาเสพติด 2) เพื่อศึกษากฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิทธิของบุคคลผู้ถูก คำสั่งการขายทอดตลาดในชั้นก่อนฟ้องคดีในคดียาเสพติดของประเทศไทยและของต่างประเทศ และ 3) วิเคราะห์ ผลกระทบและเสนอแนะแนวทางการคุ้มครองสิทธิของบุคคลผู้ถูกคำสั่งการขายทอดตลาดในชั้นก่อนฟ้องคดีในคดี ยาเสพติดโดยระบบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กล่าวคือ การวิจัยเอกสาร (Documentary Research) โดยศึกษาจากข้อมูลชั้นปฐมภูมิและชั้นข้อมูลทุติยภูมิ เพื่อให้ได้มาซึ่งแนวทางในการพัฒนาการนำทรัพย์สินใน คดียาเสพติดออกขายทอดตลาดจากคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินในชั้นก่อนฟ้องคดี จากการศึกษาพบว่า การขาย ทอดตลาดทรัพย์สินในคดียาเสพติดในชั้นก่อนฟ้องคดี ปรากฏข้อพิจารณาใน 2 ด้านสำคัญ ได้แก่ 1) ด้านผู้มีอำนาจใน การออกคำสั่งขายทอดตลาด พบว่า ประมวลกฎหมายยาเสพติด กำหนดให้ “เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและ ปราบปรามยาเสพติด” มีอำนาจออกคำสั่งการขายทอดตลาดทรัพย์สินได้ ซึ่งเป็นไปในลักษณะ “อำนาจดุลพินิจโดยแท้” กล่าวคือ สามารถใช้ดุลพินิจดังกล่าวแต่ลำพัง ซึ่งการใช้อำนาจในลักษณะเช่นนี้ไม่เป็นการได้สัดส่วนกับตัวอำนาจและตัว ผลกระทบที่จะเกิดขึ้น ตามหลักความสมเหตุสมผล (Zumutbarkeit) ของประเทศเยอรมนี 2) ด้านเหตุเพื่อการใช้ ดุลพินิจออกคำสั่งขายทอดตลาดพบว่า ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 75 วรรคสอง ได้กำหนดเหตุเพื่อการมีคำสั่ง ขายทอดตลาดทรัพย์สินในคดียาเสพติดที่ถูกคำสั่งยึดหรืออายัดทรัพย์สินไว้คือ “ไม่เหมาะสมที่จะเก็บรักษาไว้” หรือ “หากเก็บรักษาไว้จะเป็นภาระแก่ทางราชการมากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น” โดยเหตุเหล่านี้ดำรงอยู่บนพื้นฐาน ในทางอำนวยความสะดวกต่อการจัดเก็บให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายรัฐเป็นสำคัญ แต่มิได้ให้ความสำคัญกับการกระทบต่อสิทธิ ของผู้ต้องหาหรือการกระทบต่อสิทธิในทรัพย์สินของบุคคลผู้เป็นเจ้าของทรัพย์สิน อีกทั้งการที่ประมวลกฎหมายยาเสพ ติดของประเทศไทย ได้อาศัย “เหตุอันควรสงสัยในทรัพย์สิน” มาเป็นจุดเริ่มต้นของกระบวนการยึด อายัด และขาย ทอดตลาดทรัพย์สินเช่นนี้ โดยผลักภาระการพิสูจน์ผ่านกระบวนการชี้แจงที่มาของทรัพย์สินในชั้นก่อนฟ้องคดี (ชั้น สอบสวนคดี) ให้แก่ฝ่ายผู้ต้องหาเป็นประเด็นสำคัญ จึงเท่ากับว่ามีผลในทางกระทบต่อหลักการสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นผู้ บริสุทธิ์ (presumption of innocence) อยู่อย่างมากประมาณ ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการคุ้มครอง สิทธิของบุคคลจากการถูกคำสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินในคดียาเสพติดดังต่อไปนี้ 1) การให้มีระบบถ่วงดุลการใช้ดุลพินิจ เพื่อการมีคำสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน คือ การมีคำสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน ให้กระทำขึ้นในรูปของ “คณะกรรมการ” เพื่อพิจารณาว่าสมควรที่จะมีคำสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินหรือไม่ 2) การกำหนดเหตุเพื่อการมีคำสั่งขายทอดตลาด ทรัพย์สิน โดยคำนึงถึงสิทธิของผู้ต้องหาหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องกับทรัพย์สินในคดียาเสพติดคือ ให้ทำการแก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายยาเสพติด มาตรา 75 วรรคสอง โดยใช้ความว่า “ในกรณีที่ทรัพย์สินตามวรรคหนึ่ง ไม่เหมาะสมที่จะ เก็บรักษาไว้ หรือหากเก็บรักษาไว้จะเสียประโยชน์มากกว่าการนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น คณะกรรมการผู้มีอำนาจอาจ สั่งให้นำทรัพย์สินนั้นออกขายทอดตลาดหรือไปใช้เพื่อประโยชน์ของทางราชการ แล้วรายงานให้คณะกรรมการตรวจสอบ ทรัพย์สินในคดียาเสพติดทราบก็ได้ ทั้งนี้ การใช้ดุลพินิจเพื่อการมีคำสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินในคดียาเสพติด ให้กระทำ ได้เท่าที่จำเป็นอย่างยิ่ง หากมิได้สัดส่วนความจำเป็น ห้ามมิให้ขายทอดตลาดทรัพย์สินในคดียาเสพติดนั้น”
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/952
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_law65jukkrit.pdf6.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น