กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/946
ชื่อเรื่อง: พลเมืองศึกษากับการพัฒนาประชาธิปไตยในพื้นที่ ตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: CIVIC EDUCATION AND DEMOCRACY DEVELOPMENT IN TAKHIAN THONG SUB-DISTRICT KANCHANADIT DISTRICT SURAT THANI PROVINCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กนกวรรณ ปลอดชุ่ม
อัศว์ศิริ ลาปีอี
สุพัฒพงศ์ แย้มอิ่ม
คำสำคัญ: พลเมืองศึกษา
การพัฒนาประชาธิปไตย
ระบอบประชาธิปไตย
วันที่เผยแพร่: 24-มิถ-2565
สำนักพิมพ์: การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
แหล่งอ้างอิง: สาขาวิชาการเมืองการปกครอง
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความเป็นพลเมืองของประชาชนต่อการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตย 2) เปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความเป็นพลเมืองศึกษา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) นำเสนอรูปแบบพลเมืองศึกษากับการพัฒนาประชาธิปไตยที่สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบเชิงปริมาณ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ประชาชนในพื้นที่ตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 6,333 คน กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 377 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบสัดส่วน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน รวมทั้งทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติเชิงอนุมาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับความเป็นพลเมืองของประชาชนพื้นที่ตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านการเคารพหลักความเสมอภาค มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาคือ ด้านการเคารพสิทธิผู้อื่น ด้านการเคารพความแตกตาง ด้านการเคารพกติกา ด้านการรับผิดชอบตนเองและพึ่งตนเองได้ และด้านการรับผิดชอบต่อสังคมและส่วนรวม ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างของระดับความเป็นพลเมืองศึกษา จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ ระดับการศึกษา และรายได้ที่ต่างกัน ส่งผลต่อระดับความเป็นพลเมือง ไม่แตกต่างกัน ส่วนอายุและอาชีพที่ต่างกันส่งผลต่อระดับความเป็นพลเมืองแตกต่างกัน อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ .05 3) รูปแบบที่สัมพันธ์กับข้อเสนอพลเมืองศึกษากับการพัฒนาประชาธิปไตยที่สอดคล้องกับบริบทเชิงพื้นที่ตำบลตะเคียนทอง อำเภอกาญจนดิษฐ์ จังหวัดสุราษฎร์ธานี มีรูปแบบที่สะท้อนการขับเคลื่อนการดำเนินนงานแบบมีส่่วนร่วมภายใต้เครือข่ายระดับชุมชนท้องถิ่นด้วยการบูรณาการเชื่อมโยงสถาบันครอบครัว สถาบันทางการเมือง สถาบันทางสังคม รวมถึงสถาบัน การศึกษาทั้งในและนอกระบบ รวมทั้งผสานกลไกระหว่างสภาพแวดล้อมกับข้อเสนอการจัดพลเมืองศึกษาอย่างเป็นระบบ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาวิถีชีวิตแบบประชาธิปไตยแก่ประชาชนที่มีส่วนสำคัญในการร่วมออกแบบกระบวนการ เพื่อบรรลุเป้าหมายสร้างการเปลี่ยนแปลงการใช้อำนาจปกครองตนเองตามแนวทางการศึกษาพลเมืองที่เหมาะสมบริบทเชิงพื้นที่
รายละเอียด: การค้นดว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/946
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is_pol65Kanokwan.pdf4.59 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น