กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/928
ชื่อเรื่อง: ทัศนคติและส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Attitudes and Marketing Mix Affecting the Decision Making to Use Krung Thai Bank Public Company Limited in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อโนชา ใจรักษ์
พิมพ์แพร ศรีสวัสดิ์
คำสำคัญ: ทัศนคติ
ส่วนประสมทางการตลาด
การตัดสินใจ
วันที่เผยแพร่: 29-มีน-2565
สำนักพิมพ์: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
แหล่งอ้างอิง: -
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับทัศนคติ 2) ระดับส่วนประสมทางการตลาด 3) ระดับการตัดสินใจ 4) ทัศนคติที่ส่งผลต่อการตัดสินใจ และ5) ส่วนประสมทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ใน จ.สุราษฎร์ธานี กลุ่มตัวอย่างในการศึกษา คือ ลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ในพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี จำนวน 385 คน โดยวิธีการสุ่มแบบชั้นภูมิ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.99 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับทัศนคติของลูกค้าธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านพฤติกรรม ด้านอารมณ์ ความรู้สึก และด้านความรู้ ความเข้าใจ 2) ระดับส่วนประสมทางการตลาดของธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็น รายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด 5 ด้าน เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านกายภาพและการนำเสนอ ด้านช่องทาง การจัดจำหน่าย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านบุคคลหรือพนักงาน และด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการ ส่งเสริมการตลาด และด้านราคา 3) ระดับการตัดสินใจใช้ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับ มากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ การรับรู้ถึงความต้องการ การตัดสินใจซื้อ พฤติกรรมหลังการซื้อ การ ประเมินทางเลือกในการตัดสินใจซื้อ และการค้นหาข้อมูล 4) ผลการวิเคราะห์ทัศนคติที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) พบว่า ทัศนคติมีความสัมพันธ์และส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ ความรู้ความเข้าใจ อารมณ์ ความรู้สึก และพฤติกรรม โดยตัวพยากรณ์ทั้งหมดมีอำนาจในการพยากรณ์ได้ร้อยละ 46 และ 5) ส่วนประสม ทางการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) พบว่า ส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์และส่งผลต่อการตัดสินใจใช้ ธนาคารกรุงไทยจำกัด (มหาชน) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เรียงลำดับความสำคัญได้แก่ กายภาพและการ นำเสนอ ผลิตภัณฑ์ บุคคลหรือพนักงาน กระบวนการ ช่องทางการจัดจำหน่าย การส่งเสริมการตลาด โดยตัวพยากรณ์ทั้งหมด มีอำนาจในการพยากรณ์ ได้ร้อยละ 73
รายละเอียด: การค้นคว้าสิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/928
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is mba_anocha.pdf12.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น