กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/896
ชื่อเรื่อง: ความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายสินค้านำเข้าผ่านสังคมออนไลน์ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Successfully Selling Imported Products Business through Online Channels in South of Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรฤทัย คชโสภณ
อัจฉราวรรณ รัตนพันธ์
คำสำคัญ: ความสำเร็จของธุรกิจ
ธุรกิจจำหน่ายสินค้านำเข้า
สื่อสังคมออนไลน์
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
บทคัดย่อ: การศึกษาค้นคว้าอิสระนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยในการดำเนินธุรกิจจำหน่ายสินค้านำเข้าผ่านสังคม ออนไลน์ 2) เพื่อศึกษาความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายสินค้านำเข้าผ่านสังคมออนไลน์ 3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่าง ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจจำหน่ายสินค้านำเข้าผ่านสังคมออนไลน์กับความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายสินค้านำเข้าผ่านสังคม ออนไลน์ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้านำเข้าผ่านสังคมออนไลน์ จำนวน 400 คน โดยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างกรณีที่ไม่ทราบขนาดของประชากรที่แน่นอน เก็บรวมรวมข้อมูลโดยใช้ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.782 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่า 1) ระดับความ คิดเห็นเกี่ยวกับปัจจัยในการดำเนินธุรกิจจำหน่ายสินค้านำเข้าผ่านสังคมออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงตามลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านความเป็นส่วนตัว ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านความปลอดภัย ด้านช่องทางการจัด จำหน่าย ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านการติดต่อประสานงาน ด้านคุณภาพของข้อมูล และด้านราคา 2) ระดับความ คิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จของธุรกิจจำหน่ายสินค้านำเข้าผ่านสังคมออนไลน์ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ ด้านรายได้ ด้านความจงรักภักดี ด้านความพึงพอใจ และด้านชื่อเสียงองค์กร 3) ปัจจัยในการดำเนินธุรกิจจำหน่ายสินค้านำเข้าผ่านสังคมออนไลน์ มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จของธุรกิจจำหน่าย สินค้านำเข้าผ่านสังคมออนไลน์ในเขตภาคใต้ของประเทศไทย อยู่ในระดับปานกลาง 3 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหา น้อยดังนี้ ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการติดต่อประสานงาน ด้านราคา และอยู่ในระดับต่ำ 5 ด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหา น้อยดังนี้ ด้านการส่งเสริมทางการตลาด ด้านคุณภาพข้อมูล ด้านความเป็นส่วนตัว ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้าน ความปลอดภัย อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/896
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is mba chatruthai64.pdf4.97 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น