กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/894
ชื่อเรื่อง: มาตรการไม่ใช่โทษจำคุกสำหรับผู้กระทำความผิดสูงอายุ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Non-custodial Measures Sentences for Elderly Offenders
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: หัสนัย บุญมา
อัคคกร ไชยพงษ์
คำสำคัญ: มาตรการไม่ควบคุมตัว
ผู้กระทำความผิดสูงอายุ
ข้อกำหนดโตเกียว
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการลงโทษจำคุกผู้กระทำผิดสูงอายุ และศึกษาแนวคิด ทฤษฎี เกี่ยวกับการลงโทษและการลงโทษผู้กระทำความผิดโดยไม่ใช่โทษจำคุก 2) เพื่อศึกษามาตรการทางกฎหมายในการลงโทษโดยไม่ใช่โทษจำคุกกับผู้กระทำผิดสูงอายุในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีทั้งของประเทศไทยและของต่างประเทศ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางในการพัฒนามาตรการในการลงโทษผู้กระทำผิดสูงอายุซึ่งไม่ใช่โทษจำคุกในชั้นพิจารณาพิพากษาคดีที่เหมาะสมในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) กล่าวคือ การศึกษาค้นคว้าข้อมูลจากการเอกสาร (Documentary Research) ที่เกี่ยวข้องกับมาตรการไม่ใช่โทษจำคุกสำหรับผู้กระทำความผิดสูงอายุ จากการศึกษาพบว่า มาตรการไม่ใช่โทษจำคุก เป็นมาตรการในเชิงทางเลือกเพื่อให้ศาลนำเอามาตรการไม่ใช่โทษจำคุกมาใช้เบี่ยงเบนผู้กระทำผิดออกจากระบบการบังคับโทษ โดยข้อกำหนดโตเกียว (Tokyo Rule) ได้ส่งเสริมสนับสนุนในการนำเอามาตรการไม่ใช่โทษจำคุกมาใช้ในทางแพร่หลาย ซึ่งมุ่งหมายถึงการไม่ควบคุมตัว (จำคุก) ในทุกชั้นกระบวนการของงานยุติธรรมซึ่งรวมไปถึงชั้นพิจารณาพิพากษาคดีและชั้นบังคับโทษด้วย สำหรับในบริบทของประเทศไทยต่อมาตรการไม่ใช่โทษจำคุกสำหรับผู้กระทำความผิดสูงอายุนี้ ณ ปัจจุบัน ยังไม่มีการกำหนดมาตรการที่ไม่ใช่โทษจำคุกสำหรับผู้กระทำความผิดสูงอายุขึ้นโดยเฉพาะแต่อย่างใด แต่อาศัยมาตรการตามที่ประมวลกฎหมายอาญาบัญญัติรับรองไว้เท่านั้น ได้แก่ มาตรการเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นโทษกักขัง การยกโทษจำคุก และการรอการลงโทษหรือรอการกำหนดโทษเท่านั้น อันเป็นบทบังคับทั่วไปที่ใช้บังคับกับผู้กระทำความผิดในทุกช่วงวัย และถึงแม้ในชั้นบังคับโทษโดยกรมราชทัณฑ์ จะได้ตราประกาศกรมราชทัณฑ์เพื่อการพักการลงโทษให้แก่ผู้สูงอายุไว้ก็ตาม แต่กระบวนการดังกล่าวนั้น ก็ต้องมีการลงโทษจำคุกผู้สูงอายุนั้นมาแล้วด้วย จึงไม่อาจนับว่ากระบวนการพักการลงโทษเป็นมาตรการไม่ใช่โทษจำคุกของผู้กระทำความผิดสูงอายุในชั้นพิจารณาและพิพากษาคดีโดยศาลได้ ด้วยเหตุนี้ เพื่อให้เกิดการพัฒนาการนำมาตรการไม่ใช่โทษจำคุกกับผู้กระทำความผิดสูงอายุมาบังคับใช้ในประเทศไทย จึงควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายในจำนวน 2 ประเด็น ได้แก่ 1) การกำหนดบทนิยามศัพท์ “ผู้กระทำความผิดสูงอายุ” ไว้ในประมวลกฎหมายอาญา และ 2) การกำหนดมาตรการไม่ใช่โทษจำคุกสำหรับผู้กระทำความผิดสูงอายุขึ้น โดยเพิ่มเติมระบบแก้ไขฟื้นฟูผู้กระทำความผิดสูงอายุในศูนย์ควบคุมในชุมชน หรือ บ้านกึ่งวิถี และมาตรการการคุมประพฤติแบบเข้มงวดไว้เป็นบทเฉพาะในมาตรา 56/1 แห่งประมวลกฎหมายอาญาต่อไป
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/894
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is law hussanai64.pdf7.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น