กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/893
ชื่อเรื่อง: แนวทางการนำหลักการริบทรัพย์สินตามมูลค่ามาใช้กับคดียาเสพติด
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Adoption of Value based confiscation in Drug Case
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ธันญพงศ์ สังข์เพชร
อัคคกร ไชยพงษ์
คำสำคัญ: การริบทรัพย์สินแบบเจาะจง
การริบทรัพย์สินตามมูลค่า
คดียาเสพติด
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี ตลอดถึงหลักการทางกฎหมายเกี่ยวกับการนำหลักการริบทรัพย์สินตามมูลค่า (Value Based Confiscation) มาบังคับใช้กับคดียาเสพติดของประเทศไทยโดยมาตรการการริบทรัพย์สินนี้ ถือว่าเป็นโทษทางอาญาสถานหนึ่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลในการสร้างมาตรการการริบทรัพย์สินขึ้นจากทฤษฎีการลงโทษเพื่อการยับยั้งหรือป้องปราม (Deterrence) จาการศึกษาพบว่า โทษการริบทรัพย์สินภายใต้ทฤษฎีการลงโทษเพื่อการยับยั้งหรือป้องปราม (Deterrence) มีการจัดแบ่งระบบการริบทรัพย์สิน ออกเป็น 2 ระบบสำคัญ ได้แก่ ระบบการริบทรัพย์สินแบบเจาะจงทรัพย์สิน (Property – based Confiscation) และ ระบบการริบทรัพย์สินตามมูลค่า (Value based Confiscation) สำหรับระบบการริบทรัพย์สินแบบเจาะจงทรัพย์สินนั้น ปรากฏข้อจำกัดในการบังคับโทษเอากับทรัพย์สินของผู้กระทำความผิดอยู่ในบริบทที่มากกว่าการริบทรัพย์สินตามมูลค่า กล่าวคือ ผู้กระทำความผิดในระบบการริบทรัพย์สินตามมูลค่า จะไม่สามารถหลีกเลี่ยงการถูกริบทรัพย์สินได้เพียงแค่การซุกซ่อนหรือยักย้ายถ่ายเททรัพย์สินที่ได้มาจากการกระทำความผิด เนื่องจากการบังคับตามคำสั่งริบทรัพย์สินตามมูลค่าเหล่านั้น สามารถกระทำได้กับทรัพย์สินอื่นๆ ของผู้กระทำความผิดด้วย มิได้มีข้อจำกัดอยู่เพียงทรัพย์สินที่ระบุมาในคำฟ้องในคดี หรือทรัพย์สินที่ได้มาจากการการกระทำความผิดเท่านั้น ซึ่งหลักการดังกล่าวนี้ประเทศอังกฤษได้นำมาบังคับใช้ โดยบัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีอาชญากรรม ค.ศ.2002 (Proceeds of Crime Act 2002) กล่าวคือ มาตรการริบทรัพย์สินโดยการเปรียบเทียบเป็นจำนวนเงิน โดยจำนวนเงินที่ระบุไว้ในคำพิพากษาก็คือการริบทรัพย์สินของจำเลยที่กระทำความผิดอาชญากรรม นอกจากนั้น หากความปรากฏแก่ศาลว่าจำเลยมิวิถีชีวิตอย่างอาชญากรรม (criminal lifestyle) ศาลยังสามารถนำบทสันนิษฐานเกี่ยวกับการถ่ายโอนทรัพย์สินให้แก่จำเลยในเวลา 6 ปี นับตั้งแต่วันที่การพิพากษาคดีเริ่มต้นขึ้น เพื่อประเมิน “จำนวนเงินที่รัฐมีสิทธิ์ได้รับคืน (recoverable amount)” จากวิถีชีวิตอย่างอาชญากรรม (criminal lifestyle) ของจำเลยได้ด้วยอีกมาตรการหนึ่ง ดังนั้น ด้วยเหตุที่พระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ.2534 มาตรา 29 และความผิดมูลฐานตามนัยมาตรา 3 (1) แห่งพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 ของประเทศไทย ยังคงเป็นไปในระบบการริบทรัพย์สินแบบเจาะจงทรัพย์สิน (Property – based Confiscation) ทำให้ยังคงปรากฏข้อจำกัดในการบังคับใช้ ดังนี้ จึงควรนำเอาหลักการการริบทรัพย์สินตามมูลค่า (Value Based Confiscation) มาบังคับใช้กับการริบทรัพย์สินในคดียาเสพติดต่อไป
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/893
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is law tanyapong64.pdf7.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น