กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/878
ชื่อเรื่อง: การประเมินโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Assessment of Student Health Behavior Development Program of Bankhang School under The Chumphon Primary Education Service Area Office 1
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จารุวรรณ อินทะเสม
นัฎจรี เจริญสุข
ชูศักดิ์ เอกเพชร
คำสำคัญ: การประเมินโครงการ
พฤติกรรมสุขภาพ
โครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพ
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ประเมินด้านบริบท 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า 3) ประเมินกระบวนการ และ 4) ประเมินผลผลิตการดำเนินโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียนโรงเรียนบ้านกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1 การวิจัยมี 3 ระยะ ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การประเมินโครงการก่อนดำเนินการ ประชากร ได้แก่ กรรมการสถานศึกษา 9 คน และครู จำนวน 10 คน รวม 19 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่า ความเชื่อมั่น 0.80 ระยะที่ 2 การประเมินระหว่างดำเนินโครงการ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ กรรมการสถานศึกษา จำนวน 7 คน ครู จำนวน 7 คน และผู้ปกครอง จำนวน 89 คน รวม 103 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็น แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.88 ระยะที่ 3 การประเมินผลผลิตของโครงการ กลุ่มตัวอย่างเดียวกับ ขั้นตอนที่ 2 เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.87 และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น 0.85 วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การประเมินบริบทโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน โดยรวมมีความ เหมาะสมในระดับมากที่สุด เรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อยได้แก่ ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ และ ความเหมาะสมและเป็นไปได้ของโครงการ 2) การประเมินปัจจัยนำเข้าโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน โดยรวมมีความพร้อมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนด้านวัสดุ อุปกรณ์ ด้านบุคลากร และด้านงบประมาณ อยู่ในระดับมาก 3) การประเมินกระบวนการของโครงการพัฒนา พฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน โดยรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด 4) การประเมินผลผลิตของโครงการพัฒนา พฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน ด้านความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมสุขภาพ และผลการดำเนินกิจกรรม โดยรวมอยู่ ในระดับมาก ผลการประเมินความพึงพอใจของโครงการพัฒนาพฤติกรรมสุขภาพของนักเรียน พบว่า โดยรวมอยู่ใน ระดับมากที่สุด
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/878
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
jaruwan Ed64.pdf947.31 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น