กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/854
ชื่อเรื่อง: การพยากรณ์ความสำเร็จของกองทุนการออมแห่งชาติในเขตภาคใต้ตอนบนของไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: FORECASTING THE SUCCESS OF NATIONAL SAVING FUND IN THAI UPPER SOUTHERN
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: รัชชพงศ์ เล็กขาว
อรุษ คงรุ่งโชค
คำสำคัญ: ความสำเร็จ
เงินออม
กองทุนการออมแห่งชาติ
ภาคใต้ตอนบนของไทย
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ใช้ในการการพยากรณ์ความสำเร็จของกองทุนการออมแห่งชาติ 2) เพื่อศึกษาปัจจัยความสำเร็จของกองทุนการออมแห่งชาติ และ 3) เพื่อทดสอบความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นในการพยากรณ์ความสำเร็จของกองทุนการออมแห่งชาติในเขตภาคใต้ตอนบนของไทย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูล (มีค่าความน่าเชื่อถือได้เท่ากับ .864) จากสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติในเขตภาคใต้ตอนบนของไทยจำนวน 400 ราย เป็นกลุ่มตัวอย่างการสุ่มแบบชั้นภูมิ โดยสรุปผลการวิจัยอย่างเป็นระบบผ่านการใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่ออธิบายสภาพส่วนบุคคลของสมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติและระดับการให้ความสำคัญต่อปัจจัยที่ใช้พยากรณ์ความสำเร็จของกองทุนการออมแห่งชาติและปัจจัยบ่งชี้ความสำเร็จของกองทุนการออมแห่งชาติในเขตภาคใต้ตอนบนของไทย โดยใช้การวิเคราะห์ปัจจัยตัวแปรเพื่อสกัดและจัดกลุ่มคำถามในการได้มาซึ่งตัวแปรอิสระอย่างถูกต้องแม่นยำรวมทั้งใช้เทคนิคการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุคูณเพื่อทดสอบสมมติฐานเกี่ยวกับความมีอิทธิพลและความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรอิสระที่มีผลต่อความสำเร็จของกองทุนการออมแห่งชาติในเขตภาคใต้ตอนบนของไทย ผลการวิจัยพบว่า 1) สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติให้ความสำคัญต่อปัจจัยที่ใช้พยากรณ์ความสำเร็จของกองทุนการออมแห่งชาติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย ปัจจัยด้านกระบวนการดำเนินงานของกองทุน ปัจจัยด้านผลตอบแทนจากกองทุน ปัจจัยด้านการจัดการ เงินบำนาญส่วนบุคคลของสมาชิก ปัจจัยด้านการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับกองทุน และปัจจัยด้านช่วงอายุของสมาชิกที่นำส่งเงินออม ส่วนปัจจัยด้านความสม่ำเสมอของสัดส่วนเงินออมที่นำส่งและปัจจัยด้านความเสี่ยงของกองทุน สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติให้ความสำคัญโดยรวม อยู่ในระดับมาก 2) สมาชิกกองทุนการออมแห่งชาติให้ความสำคัญต่อปัจจัยความสำเร็จของกองทุนการออมแห่งชาติโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และ 3) ทุกปัจจัยที่ใช้พยากรณ์ความสำเร็จดังที่กล่าวแล้วข้างต้นมีอิทธิพลโดยตรงและมีความสัมพันธ์เชิงบวกกับการพยากรณ์ความสำเร็จของกองทุนการออมแห่งชาติในเขตภาคใต้ตอนบนของไทยที่ระดับนัยสำคัญ .01 โดยปัจจัยดังกล่าวสามารถพยากรณ์ความสำเร็จของกองทุนการออมแห่งชาติในเขตภาคใต้ตอนบนโดยรวมได้ถึงร้อยละ 93.70 ผลการวิจัยนี้สามารถถูกใช้เพื่อที่จะพัฒนาเป็นข้อเสนอแนะและส่งผ่านไปยังรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการปรับปรุง แก้ไข และพัฒนาการบริหารจัดการกองทุนการออมแห่งชาติให้เกิดความยั่งยืนและบรรลุวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้เช่นกัน
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/854
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is64_ radchaphong_mba.pdf973.06 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น