กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/845
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการให้บริการผ่านสื่อดิจิทัลกับภาพลักษณ์ ของศาลยุติธรรมในเขตอำนาจสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The relationship between the efficiency of digital services and the image of the Court of Justice Under the Court of Justice of Region 8
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดา นวลนุช
สิญาธร นาคพิน
คำสำคัญ: สื่อดิจิทัล
ประสิทธิภาพการให้บริการ
ภาพลักษณ์
ศาลยุติธรรม
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับประสิทธิภาพการให้บริการผ่านสื่อดิจิทัลของศาลยุติธรรม 2) ศึกษาภาพลักษณ์ของศาลยุติธรรมจากผู้ใช้บริการศาลยุติธรรมในเขตอำนาจสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 3) ศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับภาพลักษณ์ของศาลยุติธรรมในเขตอำนาจสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการให้บริการผ่านสื่อดิจิทัลกับภาพลักษณ์ของศาลยุติธรรมในเขตอำนาจสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือ ประชาชนที่ใช้บริการศาลยุติธรรมในเขตอำนาจสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบไม่ใช้ความน่าจะเป็น โดยเลือกตัวอย่างวิธีแบบสัดส่วนหรือโควต้า เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม โดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ทดสอบความแปรปรวนแบบทางเดียวและการวิเคราะห์ความถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัยพบว่า ระดับประสิทธิภาพการให้บริการผ่านสื่อดิจิทัลของศาลยุติธรรมในภาพรวมพบว่า อยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านความปลอดภัย ด้านความประหยัดและคุ้มค่า ด้านสมรรถนะการใช้งาน และด้านความสะดวกรวดเร็ว ภาพลักษณ์ของ ศาลยุติธรรมจากผู้ใช้บริการศาลยุติธรรมในเขตอำนาจสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 ในภาพรวม พบว่าอยู่ในระดับมาก หากพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ได้แก่ ด้านองค์กร ด้านเทคโนโลยี และด้านบุคลากร ผลการเปรียบเทียบภาพลักษณ์ของศาลยุติธรรมในเขตอำนาจสำนักงานอธิบดี ผู้พิพากษาภาค 8 จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล โดยรวมพบว่า ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน มีทัศนคติต่อภาพลักษณ์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการทดสอบความสัมพันธ์พบว่า ประสิทธิภาพ การให้บริการผ่านสื่อดิจิทัลมีความสัมพันธ์กับภาพลักษณ์ของศาลยุติธรรมในเขตอำนาจสำนักงานอธิบดีผู้พิพากษาภาค 8 ในระดับค่อนข้างสูง โดยสามารถพยากรณ์ภาพลักษณ์ได้ร้อยละ 71.2 และมีค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์พหุคูณเท่ากับ 0.845 โดยประสิทธิภาพการให้บริการด้านสมรรถนะการใช้งานมีความสัมพันธ์มากที่สุด
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/845
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
suda_is_mba64.pdf861.56 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น