กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/826
ชื่อเรื่อง: | รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐาน โรงเรียนในเครือข่ายเกาะพะงัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อุบล หนูฤกษ์ |
คำสำคัญ: | รูปแบบการพัฒนาครู การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน |
วันที่เผยแพร่: | 2563 |
สำนักพิมพ์: | สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนในเครือข่ายเกาะพะงัน 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐาน โรงเรียนในเครือข่ายเกาะพะงัน สังกัดส านักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 3) เพื่อประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐานโรงเรียนในเครือข่ายเกาะพะงัน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 1 การวิจัยมี 3 ขั้นตอน ดังนี้ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครู กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น .93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐาน โดยผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 5 ท่าน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ ขั้นตอนที่ 3 ประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนจำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจ และแบบสอบถามความพึงพอใจ มีค่าความเชื่อมั่น .91 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดการเรียนการสอนของครูโรงเรียนในเครือข่ายเกาะพะงัน อำเภอเกาะพะงัน จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เรียงตามลำดับคือ ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านการประเมินผลการจัดการเรียนรู้ และด้านการวางแผนการจัดการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ผลการพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐาน พบว่า รูปแบบประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ เป้าหมาย การพัฒนาครู การฝึกอบรม การนิเทศ การประเมินผล การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน และการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสอนแบบสร้างสรรค์เป็นฐาน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามล าดับคือ ด้านความเป็นมาและความสำคัญของรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมาคือ ด้านองค์ประกอบของรูปแบบ ด้านทฤษฎี แนวคิดพื้นฐานของรูปแบบ และด้านความเป็นไปได้ของรูปแบบ มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 3) ผลการประเมินผลการใช้รูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐาน พบว่า เมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนวัดความรู้ความเข้าใจก่อนและหลังการอบรม พบว่า แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความพึงพอใจต่อการฝึกอบรมอบรมครู ตามรูปแบบการพัฒนาครูในการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การสร้างสรรค์เป็นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน เรียงตามลำดับคือ ด้านการจัดการโครงการ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูงสุด รองลงมาคือ ด้านเนื้อหา และด้านวิทยากร มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับต่ำสุด |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/826 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Education Administration: Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Fulltext.pdf | 8.35 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น