กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/809
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาแนวทางประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความต้องการเลือกเข้าศึกษา ต่อในวิทยาลัยการอาชีพไชยา ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: กอบเกียรติ ยังเจริญ
คำสำคัญ: แนวทางประชาสัมพันธ์
ความต้องการเลือกเข้าศึกษาต่อ
วันที่เผยแพร่: 2563
สำนักพิมพ์: สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแนวทางประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความต้องการ เลือกศึกษาต่อ 2) ปฏิบัติการตามแนวทางประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความต้องการเลือกศึกษาต่อ และ 3) เปรียบเทียบความต้องการเลือกเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยการอาชีพไชยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ตอนปลาย ก่อนและหลังการปฏิบัติตามแนวทางประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความต้องการศึกษาต่อ ในวิทยาลัยการอาชีพไชยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนที่ก าลังศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จ านวน 200 คน การวิจัยมีกระบวนการด าเนินงานแบ่งเป็น 2 วงรอบ ทั้ง 2 วงรอบ ประกอบไปด้วย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการปฏิบัติการ ขั้นการสังเกตการณ์ และขั้นการสะท้อนผล เครื่องมือที่ใช้ในรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามการรับรู้ข้อมูลการประชาสัมพันธ์ และความต้องการเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยการอาชีพไชยาก่อนและหลังการด าเนินงานตามแนวทาง แบบสังเกตพฤติกรรม แบบนิเทศติดตามการปฏิบัติการ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการพัฒนาแนวทางประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมความต้องการเลือก เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยการอาชีพไชยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย จากการประชุมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ควรจัดให้มีการประชาสัมพันธ์เชิงรุก (โร้ดโชว์) ภายใต้แนวคิด “ถึงตัวได้ใจ ถึงใจได้ตัว” โดยมี แนวปฏิบัติ คือ ใช้การประชาสัมพันธ์เชิงรุก (โร้ดโชว์) โดยการจัดนิทรรศการโรงเรียนกลุ่มเป้าหมาย และ ใช้การประชาสัมพันธ์ทางเฟสบุ๊คกลุ่มเป้าหมายโดยมีเนื้อหา 3 ด้าน คือ สามารถหารายได้ระหว่างเรียน เมื่อส าเร็จการศึกษาสามารถประกอบอาชีพอิสระ และเป็นงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ 2) ผลการปฏิบัติการ ตามแนวทางประชาสัมพันธ์ส่งเสริมความต้องการเลือกศึกษาต่อในวิทยาลัยการอาชีพไชยาของนักเรียนค มัธยมศึกษาตอนปลาย จากการนิเทศติดตามการปฏิบัติการตามแนวทาง พบว่า ผลการปฏิบัติการ โดยรวมอยู่ในระดับดีมาก และ 3) ผลการเปรียบเทียบความต้องการเลือกเข้าศึกษาต่อในวิทยาลัย การอาชีพไชยาของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย หลังการปฏิบัติตามแนวทางประชาสัมพันธ์ พบว่า นักเรียนรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับวิทยาลัยการอาชีพไชยา เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 28.50 และมีความต้องการ เข้าศึกษาต่อในวิทยาลัยการอาชีพไชยาเพิ่มขึ้น จ านวน 13 คน คิดเป็นร้อยละ 7.5
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/809
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext.pdf8.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น