กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/791
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาครูผู้สอนในการใช้โปรแกรมประเมินผลทางการเรียนของโรงเรียน บ้านโคกมะม่วง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The Development of Teachers in the Use of Learning Assessment Program at Bankhokmamuang School under Suratthani Primary Educational Service Area Office 3
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: จินตนา ลิ้มปี้
ญาณิศา บุญจิตร์
โสภณ เพ็ชรพวง
คำสำคัญ: การพัฒนาครูผู้สอน
โปรแกรมประเมินผลทางการเรียน
วันที่เผยแพร่: 2564
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย
แหล่งอ้างอิง: การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมประเมินผลทางการเรียน 2) พัฒนาครูผู้สอนในการใช้โปรแกรมประเมินผลทางการเรียน และ 3) ประเมินผลการพัฒนาครูผู้สอนในการใช้โปรแกรมประเมินผลทางการเรียนของโรงเรียนบ้านโคกมะม่วง สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 3 โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการตามแนวคิดของเคมมิสและแม็คแทกการ์ท ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ได้แก่ การวางแผน การปฏิบัติการ การสังเกตการณ์ และการสะท้อนผล การดาเนินการ 2 วงรอบ กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ครูผู้สอน จานวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบประเมินความรู้ ความเข้าใจ แบบนิเทศภายใน แบบประเมินทักษะการปฏิบัติงาน และแบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาสภาพปัญหาเกี่ยวกับการใช้โปรแกรมประเมินผลทางการเรียน พบว่า ครูผู้สอนยังขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้โปรแกรมประเมินผลทางการเรียน และต้องการให้โรงเรียนพัฒนาครูในการใช้โปรแกรมประเมินผลทางการเรียน 2) ผลการพัฒนาครูผู้สอนในการใช้โปรแกรมประเมินผลทางการเรียน โรงเรียนได้ดาเนินจัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ฝึกปฏิบัติการใช้งานโปรแกรม การนิเทศภายใน 3) ผลการประเมินการพัฒนาครูผู้สอนในการใช้โปรแกรมประเมินผลทางการเรียน พบว่า ครูผู้สอนมีความรู้ ความเข้าใจหลังการประชุมเชิงปฏิบัติการมากกว่าก่อนการประชุมเชิงปฏิบัติการทุกด้าน ผลการประเมินทักษะการใช้โปรแกรมประเมินผลทางการเรียน พบว่า ครูผู้สอนมีทักษะการปฏิบัติงานในการใช้โปรแกรมประเมินผลทางการเรียนและสามารถปฏิบัติงานได้ร้อยละ 100 และ ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/791
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Education Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
jintana_IS_med64.pdf1.08 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น