กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/639
ชื่อเรื่อง: | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การ แห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | TRANSFORMATIONAL LEADERSHIP OF SCHOOL ADMINISTRATORS AFFECTING THE LEARNING ORGANIZATION OF SCHOOLS UNDER SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 11 IN SURAT THANI PROVINCE |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | สถาพร สังข์ขาวสุทธิรักษ์ บรรจง เจริญสุข รัตติยา จันทร์เอียด |
คำสำคัญ: | ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง องค์การแห่งการเรียนรู้ |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
บทคัดย่อ: | จากการประเมินคุณภาพนักเรียนทุกระดับในกลุ่มสาระการเรียนรู้หลัก มีค่าเฉลี่ยลดลงเมื่อเทียบกับปีการศึกษาที่ผ่านมา ซึ่งผู้บริหารมีความสำคัญยิ่งในการบริหารงานให้สัมฤทธิ์ผล จะต้องสร้างองค์การแห่งการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำ การเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา และ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ ของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากร ได้แก่ ครูผู้สอน 2,699 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย 335 คน เก็บรวบรวมข้อมูล โดยใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ การกระตุ้นทางปัญญา การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล การสร้างแรงบันดาลใจ การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยรวมและรายด้าน อยู่ในระดับมากที่สุด เรียงลำดับดังนี้ ด้านการเรียนรู้เป็นทีม ด้านการมีแบบแผนความคิด ด้านการคิดเชิงระบบ ด้านการมีความรอบรู้ และด้านการมีวิสัยทัศน์ร่วม ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาส่งผลต่อการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สามารถทำนาย การเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา โดยภาพรวมร้อยละ 96.50 ดังนั้นควรมีการจัดอบรม สัมมนาด้านการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ การทำงานเป็นทีและการมีวิสัยทัศน์ร่วมกัน เพื่อนำไปใช้ในการบริหารสถานศึกษาให้มีคุณภาพ |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/639 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Education Administration: Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
00 Cover_Rattiya.pdf | 313.21 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
02 Abstract_Rattiya.pdf | 475.53 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
03 Content_Rattiya.pdf | 748.17 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
07 Chapter 4_Rattiya.pdf | 2.32 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
08 Chapter 5_Rattiya.pdf | 1.86 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
04 Chapter 1_Rattiya.pdf | 1.67 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
05 Chapter 2_Rattiya.pdf | 8.82 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
06 Chapter 3_Rattiya.pdf | 776.92 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
10 Appendix_Rattiya.pdf | 9.07 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
09 Reference_Rattiya.pdf | 1.37 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น