กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/632
ชื่อเรื่อง: | แนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | GUIDELINES FOR DEVELOPMENT OF EFFECTIVE PUBLIC SERVICES OF INSTITUTE FOR SKILL DEVELOPMENT 11, SURATTHANI |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | อัญชิษฐา ชาญณรงค์ |
คำสำคัญ: | ประชาชน ฝีมือแรงงาน |
วันที่เผยแพร่: | 2561 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการประชาชน จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และเพื่อศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะ เพื่อหาแนวทางในการพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี การวิจัยครั้งนี้แบ่งกลุ่มตัวอย่างออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มเจ้าหน้าที่ ของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี จำนวน 54 คน และกลุ่มประชาชนผู้รับบริการ จำนวน 350 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นกลุ่มตัวอย่างเจ้าหน้าที่ เท่ากับ 0.898 และค่าความเชื่อมั่นกลุ่มตัวอย่างประชาชนผู้รับบริการ เท่ากับ 0.867 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test และ F-test ผลการวิจัยพบว่า ระดับประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนและปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า อยู่ในระดับมากทุกด้าน การเปรียบเทียบปัจจัย ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการให้บริการประชาชนของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี โดยจำแนกตามข้อมูลพื้นฐาน ผลการวิเคราะห์พบว่า โดยภาพรวม เพศ อายุ ระดับการศึกษา อาชีพและรายได้ โดยภาพรวมพบว่า ด้านการให้บริการอย่างเสมอภาค ด้านการให้บริการทันต่อเวลา ด้านการให้บริการอย่างเพียงพอ และด้านการให้บริการอย่างต่อเนื่อง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ 0.05 ส่วนด้านการให้บริการอย่างก้าวหน้า ไม่แตกต่างกัน ส่วนแนวทางการพัฒนาประสิทธิภาพ การให้บริการประชาชนของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11 สุราษฎร์ธานี ต้องมีการบูรณาการการทำงาน กับหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาฝีมือแรงงาน การทดสอบมาตรฐานฝีมือแรงงานแห่งชาติ ลดรอบระยะเวลาการทำงาน ใช้เทคโนโลยีช่วยในการปฏิบัติงาน และใช้กลไกคณะอนุกรรมการพัฒนาแรงงานและประสานงานฝึกอาชีพจังหวัด (กพร.ปจ.) การประกันคุณภาพ การเพิ่มผลิตภาพแรงงาน เป็นแนวทางในการดำเนินงานและขับเคลื่อนภารกิจของสถาบันพัฒนาฝีมือแรงงาน 11สุราษฎร์ธานี ให้สามารถขับเคลื่อนได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล สามารถตอบสนอง ความต้องการของประชาชนผู้รับบริการได้ตรงตามวัตถุประสงค์ |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/632 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Public Administration: Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
cover.pdf | 298.89 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
abstract.pdf | 605.28 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
content (3).pdf | 158.48 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
content.pdf | 316.59 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
content (2).pdf | 602.37 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter 4.pdf | 6.98 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter 5.pdf | 2.26 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter2.pdf | 8.95 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter 1.pdf | 1.51 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
chapter 3.pdf | 1.65 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
appendix 2.pdf | 453.76 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
appendix 3.pdf | 2.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
appendix 1.pdf | 1.31 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด | |
reference.pdf | 1.05 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น