กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1095
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorอินทิรา เอื้องานen_US
dc.contributor.authorจิตรดารมย์ รัตนวุฒิen_US
dc.date.accessioned2025-02-20T07:09:47Z-
dc.date.available2025-02-20T07:09:47Z-
dc.date.issued2568-02-14-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1095-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระหลักสูตรนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเป็นมา แนวคิด และกฎหมายเกี่ยวกับการรอการลงโทษ แทนโทษจำคุกทั้งของประเทศไทยและต่างประเทศ และ 2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการหักวันคุมขังออกจากโทษในคดีรอการลงโทษ เป็นการศึกษาเชิงคุณภาพ ด้วยการศึกษาค้นคว้าข้อมูลจาก หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ พระราชบัญญัติ คำพิพากษาศาลฎีกาและข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเปรียบเทียบกับกฎหมายต่างประเทศ ใช้วิธีเรียบเรียงแบบพรรณนาความ ผลการศึกษาพบว่า 1) การรอการลงโทษเป็นหนึ่งในมาตรการทางกฎหมายที่ได้รับการพิจารณาอย่างกว้างขวาง ในหลายประเทศ ได้แก่ สาธารณรัฐฝรั่งเศส ประเทศญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา เพื่อลดการพึ่งพาการใช้โทษจำคุก โดยเฉพาะในกรณีของผู้กระทำผิดที่ไม่รุนแรง แนวคิดหลักของมาตรการนี้คือ การเลี่ยงการควบคุมตัวในเรือนจำที่อาจส่งผลกระทบเชิงลบและผลกระทบต่อครอบครัวและชุมชน การใช้มาตรการรอการลงโทษยังช่วยลดความแออัดในเรือนจำ และส่งเสริมการฟื้นฟูผู้กระทำผิดให้กลับเข้าสู่สังคมได้อย่างมีคุณภาพ และการรอการลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย มีข้อจำกัดในหลายประการ โดยเฉพาะในกรณีที่ผู้กระทำผิดเคยรับโทษจำคุกมาก่อน ซึ่งทำให้จำเลยไม่สามารถได้รับการรอการลงโทษอีกครั้ง แม้จะกลับตัวเป็นคนดีและไม่เคยก่ออาชญากรรมร้ายแรง การจำกัดนี้นำไปสู่ความไม่เป็นธรรมและขาดโอกาสในการแก้ไขพฤติกรรมของผู้กระทำผิดในขณะที่ผู้กระทำผิดที่หลบหนีจนพ้นโทษ หรือผู้ที่ไม่เคยต้องโทษจำคุกยังคงได้รับสิทธิ์ในการรอการลงโทษ นอกจากนี้ การหักวันคุมขังก่อนศาลพิพากษาในคดีที่มีการรอการลงโทษยังคงขาดความชัดเจน ทำให้เกิดปัญหาในการบังคับใช้กฎหมาย เนื่องจากในบางกรณีผู้กระทำผิดอาจได้รับโทษซ้ำซ้อน หรือถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยไม่จำเป็น และ 2) มาตรการทางกฎหมายเกี่ยวกับการหักวันคุมขังของผู้กระทำผิดก่อนการพิพากษาในคดีที่ศาลรอการลงโทษเป็นประเด็นที่ยังคงขาดความชัดเจนในกระบวนการยุติธรรมของประเทศไทย ความไม่ชัดเจนนี้ส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่ผู้กระทำผิดได้รับการรอการลงโทษ แต่ในระหว่างนั้นอาจเกิดคดีความใหม่ขึ้น ทำให้ต้องบังคับใช้โทษจากคดีก่อนร่วมกับโทษในคดีใหม่ ซึ่งบางครั้งอาจนำไปสู่การลงโทษซ้ำซ้อนและการจำกัดสิทธิเสรีภาพเกินความจำเป็น ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะให้แก้ประมวลกฎ หมายอาญามาตรา 56 โดยกำหนดเงื่อนไขการรอการลงโทษผู้ที่ได้รับโทษจำคุกมาก่อน โดยมีเงื่อนไขของกำหนดระยะเวลาในการรอการลงโทษไว้ตามประมวลกฎหมายอาญาสาธารณรัฐฝรั่งเศส หรือโทษจำคุกล่วงเลยมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ตามประมวลกฎหมายประเทศญี่ปุ่น และควรมีบทบัญญัติที่ชัดเจนเกี่ยวกับการหักวันคุมขังก่อนศาลพิพากษาออกจากโทษจำคุก เพื่อป้องกันการลงโทษซ้ำซ้อน และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้กระทำผิดที่ต้องเผชิญกับกระบวนการยุติธรรมen_US
dc.description.sponsorshipคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectการรอการลงโทษen_US
dc.subjectการหักวันคุมขังen_US
dc.subjectโทษจำคุกen_US
dc.subjectมาตรการแทนการลงโทษen_US
dc.titleปัญหาทางกฎหมายในการรอการลงโทษแทนโทษจำคุกen_US
dc.title.alternativeLegal problems awaiting punishment instead of imprisonmenten_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is Laws68_Intira.pdfบทความ, อินทิรา เอื้องาน235.9 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น