กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1088
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorธนาธิป แซ่เตียวen_US
dc.contributor.authorอมร หวังอัครางกูรen_US
dc.contributor.authorไชยวัฒน์ เผือกคงen_US
dc.date.accessioned2025-01-02T03:26:44Z-
dc.date.available2025-01-02T03:26:44Z-
dc.date.issued2568-01-02-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครองen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1088-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสําเร็จของการใช้ระบบ ปฏิบัติการทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐ 2) ระดับความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานต่อการเปลี่ยนผ่านระบบปฏิบัติการทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐ 3) แนวทางการพัฒนาการใช้งานระบบปฏิบัติการทางด้านดิจิทัลขององค์กรภาครัฐ กรณีศึกษา : ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี จํานวน 58 คน โดยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือเก็บรวบรวมข้อมูลจากบุคลากรศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานี จํานวน 5 คน วิเคราะห์ข้อมูลการวิจัยโดยการสังเคราะห์และตีความหาข้อสรุปเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อระดับความสําเร็จของการใช้ระบบปฏิบัติการทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านการบริหารจัดการองค์กร มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ ด้านทัศนคติ ด้านโครงสร้างพื้นฐานเทคโนโลยีดิจิทัลในองค์กร และด้านบุคลากร ตามลําดับ 2) ความพึงพอใจของผู้ปฏิบัติงานต่อการเปลี่ยนผ่านระบบปฏิบัติการทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐ โดยรวมอยู่ในระดับมาก เรียงลําดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้ (1) ประโยชน์ที่ได้รับจากเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบต่าง ๆ ขององค์กร (2) การให้ความสนับสนุน ช่วยเหลือ ของเพื่อนร่วมงานในการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบต่าง ๆ ภายในองค์กร (3) เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบต่าง ๆ ขององค์กรที่ช่วยอํานวยความสะดวก (4) ความน่าเชื่อถือของเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบต่าง ๆ ที่ใช้งานภายในองค์กร (5) คุณภาพของเทคโนโลยีดิจิทัลและระบบต่าง ๆ ภายในองค์กร (6) ความปลอดภัยเกี่ยวกับข้อมูลส่วนตัวต่าง ๆ เมื่อทํางานผ่านระบบขององค์กร (7) ปริมาณงานหลังจากที่ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบต่าง ๆ ขององค์กร และ (8) เทคโนโลยีดิจิทัลและระบบต่าง ๆ ภายในองค์กร ตามลําดับ 3) แนวทางการพัฒนาการใช้งานระบบปฏิบัติการทางด้านดิจิทัลขององค์กรภาครัฐ คือ (1) ควรให้ความสําคัญในการปลูกฝังวัฒนธรรมการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลให้กับบุคลากรทุกระดับ สื่อสารให้บุคลากรรับทราบวัตถุประสงค์และความสําคัญของการนําเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการทํางาน (2) สร้างความรู้ความเข้าใจและทัศนคติที่ดี เพื่อช่วยลดปัญหาการต่อต้านการเปลี่ยนแปลงและเตรียมความพร้อมสําหรับการเปลี่ยนผ่านระบบปฏิบัติการทางดิจิทัลขององค์กร (3) ควรมีบุคลากรในสาขาวิชาชีพด้านดิจิทัลและสารสนเทศที่มีคุณภาพและมีปริมาณเพียงพอต่อการให้คําชี้แนะกับบุคลากรทุกภาคส่วนen_US
dc.description.sponsorshipคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectระบบปฏิบัติการทางดิจิทัลen_US
dc.subjectการเปลี่ยนผ่านทางดิจิทัลen_US
dc.subjectองค์กรภาครัฐen_US
dc.titleการเปลี่ยนผ่านระบบปฏิบัติการทางดิจิทัลขององค์กรภาครัฐ กรณีศึกษา ศาลจังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativeDigital Operating System Transformation of Public Sector Organizations: A Case Study of the Provincial Court of Surat Thanien_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Thanathip_Pol68.pdfการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, ธนาธิป แซ่เตียว262.54 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น