กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1087
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC ค่าภาษา
dc.contributor.authorสุกัญญา วัชรมูสิกen_US
dc.contributor.authorอมร หวังอัครางกูรen_US
dc.contributor.authorวาสนา จาตุรัตน์en_US
dc.date.accessioned2025-01-02T03:22:27Z-
dc.date.available2025-01-02T03:22:27Z-
dc.date.issued2568-01-02-
dc.identifier.citationบทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครองen_US
dc.identifier.urihttp://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1087-
dc.descriptionการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.description.abstractการวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนในการขับเคลื่อนกิจกรรม 2) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของสภาเด็กและเยาวชนในการขับเคลื่อนกิจกรรม และ 3) เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาบทบาทการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนในการขับเคลื่อนกิจกรรม เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากสมาชิกสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างโดยใช้สูตรการคำนวณตามหลักการของทาโรยามาเน่ จำนวน 394 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ คณะบริหารสภาเด็กและเยาวชนเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ประธานสภาเด็กและเยาวชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผู้บริหารเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ข้าราชการ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงาน รวมจำนวน 9 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้รูปแบบการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า การรับประโยชน์จากกิจกรรมมีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือ การดำเนินกิจกรรม การติดตามและประเมินผลและการวางแผนและตัดสินใจ ตามลำดับ 2) ปัญหาและอุปสรรคของสภาเด็ก และเยาวชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมคือนโยบายและกิจกรรมของสภาเด็กและเยาวชนถูกกำหนดโดยผู้บริหารและข้าราชการ ทำให้เด็กและเยาวชนขาดบทบาทในการแสดงความคิดเห็น ความหลากหลายของสมาชิก ขาดตัวแทนจากกลุ่มนอกระบบหรือกลุ่มเปราะบาง และขาดพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้และทักษะการพัฒนาสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม ทางสังคม และ 3) ข้อเสนอแนะและแนวทางในการพัฒนาบทบาทการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมคือ ต้องเปิดโอกาสให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายและกิจกรรมที่ตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิก รวมถึง การคัดเลือกสมาชิกที่หลากหลาย การสนับสนุนการคิดเชิงนวัตกรรม และการสร้างบรรยากาศที่เปิดกว้างในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการสร้างเครือข่ายสนับสนุนจากผู้บริหาร ครู และผู้ปกครอง เพื่อสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากร ทั้งนี้ สามารถสังเคราะห์ข้อมูลได้เป็นองค์ความรู้ใหม่ คือ กลไกการพัฒนาบทบาทการมีส่วนร่วมจำเป็นต้องคำนึงถึงการมีส่วนร่วมของสมาชิก ความพร้อมของทรัพยากร และการบูรณาการความร่วมมือระหว่างเด็กและเยาวชน ภาคีเครือข่าย และเทศบาล นำไปสู่การสร้างพื้นที่ปลอดภัย การส่งเสริมทักษะการบริหารจัดการ และการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำของเด็กและเยาวชนเพื่อสร้างประโยชน์ให้กับสังคมได้อย่างยั่งยืนen_US
dc.description.sponsorshipคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherบัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีen_US
dc.subjectการมีส่วนร่วมen_US
dc.subjectสภาเด็กและเยาวชนen_US
dc.subjectการขับเคลื่อนกิจกรรมen_US
dc.subjectองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นen_US
dc.titleบทบาทการมีส่วนร่วมของสภาเด็กและเยาวชนในการขับเคลื่อนกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรณีศึกษาเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี อำเภอเมืองสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานีen_US
dc.title.alternativeThe Role of the Participation of the Children and Youth Council in Driving the Activities of Local Administrative Organizations: A Case Study of Surat Thani City Municipality, Mueang Surat Thani District, Surat Thani Provinceen_US
dc.typeArticleen_US
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Sukanya_Pol68.pdfการค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, สุกัญญา วัชรมูสิก387.19 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น