กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1083
ชื่อเรื่อง: | การรับรู้และการแสดงออกทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของเยาวชนใน จังหวัดสุราษฎร์ธานี กรณีศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมือง ระหว่างปี พ.ศ. 2564-2566 |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | PERCEPTIONS AND POLITICAL EXPRESSIONS THROUGH ONLINE MEDIA OF YOUTH IN SURAT THANI PROVINCE: A CASE STUDY OF POLITICAL MOVEMENTS BETWEEN B.E. 2564 - 2566 (2021 - 2023) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กนกวรรณ ศรีวิเศษ อมร หวังอัครางกูร วาสนา จาตุรัตน์ |
คำสำคัญ: | การรับรู้ทางการเมือง เยาวชน การแสดงออกทางการเมือง ความเคลื่อนไหวทางการเมืองเมือง สื่อออนไล |
วันที่เผยแพร่: | 2-มกร-2568 |
สำนักพิมพ์: | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
แหล่งอ้างอิง: | บทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง |
บทคัดย่อ: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาการรับรู้และการแสดงออกทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้และการแสดงออกทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) นำเสนอแนวทางในการพัฒนาการรับรู้และการแสดงออกทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ภายใต้กรณีศึกษาความเคลื่อนไหวทางการเมืองระหว่างปี พ.ศ. 2564 - 2566 เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานีจำนวน 400 คน โดยใช้แบบสอบถามการรับรู้และการแสดงออกทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานผลการวิจัยพบว่า 1) การรับรู้และการแสดงออกทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านการแสดงออกทางการเมือง เป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เนื่องจากเยาวชนส่วนใหญ่นิยมใช้สื่อออนไลน์เป็นช่องทางในการติดตามข่าวสารและแสดงความคิดเห็นในประเด็นทางการเมือง 2) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการรับรู้และการแสดงออกทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน โดยด้านกลุ่มเพื่อนเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด เนื่องจากกลุ่มเพื่อนมีอิทธิพลต่อการติดตามข่าวส ารและแสดงความคิดเห็นในประเด็นทางการเมือง ส่วนด้านสถาบันเป็นด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด เนื่องจากสถาบันการศึกษาหรือสถานที่ทำงานส่วนใหญ่มีการกำหนดขอบเขตหรือควบคุมการแสดงออกทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ 3) แนวทางในการพัฒนาการรับรู้และการแสด งออกทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดราษฎร์ธานี มี 3 ประเด็น ได้แก่ 1. แนวทางพัฒนาในการเปิดกว้างในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร 2. แนวทางพัฒนาสิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น 3.แนวทางพัฒนาในการส่งเสริมความรู้ในการใช้สื่อ ซึ่งแนวทางพัฒนาทั้ง 3 จะทำงานร่วมการเพื่อเป็นแนวทางการรับรู้และการแสดงออกทางการเมืองผ่านสื่อออนไลน์ของเยาวชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในรูปแบบ OFD MODEL |
รายละเอียด: | การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1083 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Politics and Government : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Kanokwan_Pol68.pdf | การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต, กนกวรรณ ศรีวิเศษ | 485.03 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น