กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1079
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | วิไลภรณ์ มีคำ | en_US |
dc.contributor.author | จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ | en_US |
dc.date.accessioned | 2025-01-02T02:27:45Z | - |
dc.date.available | 2025-01-02T02:27:45Z | - |
dc.date.issued | 2568-01-02 | - |
dc.identifier.citation | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.identifier.uri | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1079 | - |
dc.description | การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) การใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินสามีหรือภริยาในทำนองชู้สาว และ 2) ขอบเขตของกฎหมายเกี่ยวกับสภาพบังคับและบริบทของการล่วงเกินหรือพฤติกรรมทำนองชู้สาว โดยอาศัยวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากการศึกษาเอกสาร ได้แก่ กฎหมาย หนังสือตำรา บทความวิชาการ คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ และข้อมูลสืบค้นทางอิเล็กทรอนิกส์ โดยนำข้อมูลจากการศึกษามาวิเคราะห์ สังเคราะห์ และเรียบเรียงในรูปแบบพรรณนาความเพื่อเสนอแนะแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเหตุเป็นชู้หรือมีชู้ของผู้มีความหลากหลายทางเพศ ผลการศึกษาพบว่า 1) การเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากผู้ซึ่งล่วงเกินสามีหรือภริยานั้นจะต้องเป็นกรณีที่เกิดจากการกระทำต่อบุคคลที่เป็นเพศตรงข้าม โดยคำว่า “ชู้” ตามพจนานุกรมและแนวคำพิพากษาศาลฎีกาหมายถึง เพศตรงข้าม และ 2) ขอบเขตของกฎหมายเกี่ยวกับสภาพบังคับและบริบทของการล่วงเกินหรือพฤติกรรมชู้สาว หากเป็นกรณีของฝ่ายภรรยาจะสามารถเรียกร้องค่าทดแทนได้เฉพาะจากเพศหญิง เนื่องจากกฎหมายใช้คำว่า “ทำนองชู้สาว” ในขณะที่ฝ่ายสามีสามารถใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนได้กับบุคคลทุกเพศ โดยกฎหมายใช้คำว่า “ผู้ซึ่งล่วงเกินภรรยา” เห็นได้ว่า การเรียกค่าทดแทนจากชู้มีความไม่เท่าเทียมกันระหว่างหญิงและชาย ซึ่งขัดต่อหลักความเสมอภาคทางกฎหมาย ผู้ศึกษาได้เสนอแนะว่า ควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1523 วรรคสอง โดยบัญญัติข้อความใหม่ให้ชัดเจนว่า “คู่สมรส จะเรียกค่าทดแทนจากบุคคลผู้ซึ่งล่วงเกินคู่สมรสของตนไปในทำนองชู้สาวหรือจากบุคคลผู้ซึ่งแสดงว่าตนมีความสัมพันธ์กับคู่สมรสของตนในทำนองชู้สาวก็ได้” เพื่อรับรองว่าการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากเหตุเป็นชู้หรือมีชู้ของบุคคลผู้มีความหลากหลายทางเพศ | en_US |
dc.description.sponsorship | คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.subject | ผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศ | en_US |
dc.subject | ค่าสินไหมทดแทน | en_US |
dc.subject | ความเสมอภาค | en_US |
dc.title | การใช้สิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากชู้ ศึกษากรณีผู้มีความหลากหลายทางเพศ | en_US |
dc.title.alternative | Using the right to claim compensation from an adulterer Study the case of people with diverse sexualities | en_US |
dc.type | Article | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Vilaiporn_Law68.pdf | การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต, วิไลภรณ์ มีคำ | 259.14 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น