กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1076
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ กรณีศึกษา ประชาชนในอ าเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่
ชื่อเรื่องอื่นๆ: FACTORS AFFECTING THE DECISION-MAKING OF THE ELECTION OF KRABI PROVINCIAL ADMINISTRATIVE ORGANIZATION CHIEF EXECUTIVE : A CASE STUDY OF MUEANG KRABI DISTRICT KRABI PROVINCE
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณัฐวดี เสนขำ
อมร หวังอัครางกูร
ธุวพล ทองอินทราช
คำสำคัญ: การตัดสินใจ
การเลือกตั้ง
นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด
วันที่เผยแพร่: 19-กัน-2567
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับปัจจัยทีมีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ 2) เปรียบเทียนปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) เสนอแนะเชิงยุทธศาสตร์ในการพาเสียงเลือกตั้งของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ที่ลอดลดล้องกับความต้องการของประชาชนในอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ เป็นการวิจัยเชิงบริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากประชาชนในเขตอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ จำนวน 398 คน สถิติที่ใช้ในการวิเศราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที่ วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ของประชาชนในอำเภอเมืองกระบี่ จังหวัดกระบี่ โดยรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ของผู้สมัคร รองลงลงมาด้านนโยบายของผู้สมัครรับเลือกตั้ง และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านพรรคการเมืองที่สังกัด 2) ผลการเปรียบเทียบปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า เพศ อายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ในด้านพรรคการเมืองที่สังกัด ด้านโยบายของผู้สมัครด้านความรู้ความสามารถและประสบการณ์ของผู้สมัคร ด้านการรณรงค์หาเสียงของผู้สมัคร และด้านปัจจัยสื่อบุคคลที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) ข้อเสนอแนะเชิงกลยุทธ์ในการหาเสียงเลือกตั้งของผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดกระบี่ ได้แก่ การรับฟังปัญหาของประชาชนในพื้นที่ การทำประโยชน์ให้กับพื้นที่ เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมือง และการสร้างความไว้วางใจอันจะนำไปสู่การได้รับคะแนนเสียงเลือกตั้ง
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการเมืองการปกครอง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1076
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Politics and Government : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is67 Nattawadee_POL.pdfบทความ, ณัฐวดี เสนขำ636.07 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น