กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1069
ระเบียนเมทาดาทาแบบเต็ม
ฟิลด์ DC | ค่า | ภาษา |
---|---|---|
dc.contributor.author | แดนสยาม มูสิกะพันธ์ | en_US |
dc.contributor.author | จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ | en_US |
dc.date.accessioned | 2024-05-01T11:15:06Z | - |
dc.date.available | 2024-05-01T11:15:06Z | - |
dc.date.issued | 2567-04-22 | - |
dc.identifier.citation | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ | en_US |
dc.identifier.uri | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1069 | - |
dc.description | กาค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.description.abstract | การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) อำนาจและหน้าที่ของเทศบาลตำบลในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ และ 2) มาตราทางกฎหมายการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเทศบาลตำบล โดยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพจากการศึกษาข้อมูลเอกสาร ได้แก่ กฎหมาย หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ คำพิพากษาศาลฎีกา และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และเรียบเรียงเป็นบทศึกษาต่าง ๆ ด้วยวิธีการพรรณนาความ เพื่อให้ได้แนวทางในการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเทศบาลตำบล ผลการศึกษาพบว่า 1) กฎหมายที่ให้อำนาจและหน้าที่ในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเทศบาลตำบลนั้น ยังไม่สอดคล้องในการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างเหมาะสม ปัจจุบันมีประเทศต่าง ๆ ได้ออกกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ ในขณะที่ประเทศไทยยังไม่มีกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ เป็นการเฉพาะ มีเพียงพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ที่กำหนดให้องค์ปกครองส่วนท้องถิ่นมีหน้าที่ การกำจัดขยะมูลฝอย ตามมาตรา 18 และ 19 แต่ไม่ได้ให้อำนาจในการจัดเก็บ ควบคุม ขน หรือกำจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ในเขตของส่วนท้องถิ่นแต่อย่างใด และ 2) มาตราทางกฎหมายการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 และพระราชบัญญัติสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ที่ให้แนวปฏิบัติแก่เทศบาลตำบลในการจัดการขยะมูลฝอย สิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอยติดเชื้อ แต่มาตราทางกฎหมายไม่ให้อำนาจเทศบาลตำบลในการดำเนินการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์แต่อย่างใด ผู้ศึกษาจึงมีข้อเสนอแนะเชิงกฎหมายว่าควรจัดทำร่างพระราชบัญญัติการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ตามแนวทางของประเทศญี่ปุ่น และข้อเสนอแนะเชิงนโยบาย ควรจัดตั้งศูนย์จัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์ในชุมชน และสร้างระบบเครือข่ายของศูนย์รับซื้อคืนและศูนย์รับแลกซื้อ กำหนดแนวทางและมาตรฐานการบริหารจัดการขยะที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ | en_US |
dc.description.sponsorship | คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี | en_US |
dc.subject | การจัดการขยะ | en_US |
dc.subject | ขยะอิเล็กทรอนิกส์ | en_US |
dc.subject | เทศบาลตำบล | en_US |
dc.title | ปัญหาทางกฎหมายเกี่ยวกับการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์โดยเทศบาลตำบล | en_US |
dc.title.alternative | Legal problems regarding electronic waste management by Subdistrict Municipalities | en_US |
dc.type | Article | en_US |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
is LAW67 Dansayam.pdf | บทความ, แดนสยาม | 368.37 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น