กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1068
ชื่อเรื่อง: | ความได้สัดส่วนในการกำหนดอัตราระวางโทษ : กรณีศึกษาความผิดฐานยักยอก |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Proportionality in Determining the Penalty Rates: A Case Study of Offense of Misappropriation |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วรพงษ์ ทองตะกุก อัคคกร ไชยพงษ์ |
คำสำคัญ: | ความได้สัดส่วน อัตราระวางโทษ ยักยอก |
วันที่เผยแพร่: | 22-เมษ-2567 |
สำนักพิมพ์: | บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
แหล่งอ้างอิง: | บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราระวางโทษทางอาญาในกฎหมายไทยกับกฎหมายต่างประเทศเกี่ยวกับความผิดอาญาฐานยักยอก และศึกษามาตรการกำหนดอัตราระวางโทษฐานยักยอกตามหลักความได้สัดส่วนในเชิงนิติเศรษฐศาสตร์ โดยวิธีการศึกษาเชิงคุณภาพ จากการศึกษาพบว่า ประมวลกฎหมายอาญาของประเทศไทยได้กำหนดอัตราระวางโทษความผิดฐานยักยอกไว้ตามมาตรา 352 ระวางโทษไม่เกิน 3 ปี มาตรา 355 ระวางโทษไม่เกิน 3 ปี มาตรา 354 ระวางโทษ ไม่เกิน 5 ปี และมาตรา 355 ระวางโทษไม่เกิน 1 ปี เมื่อศึกษาการกระทำความผิดในกรณีทรัพย์ที่ถูกยักยอกมีมูลค่าสูง เช่น คดียักยอกจากสหกรณ์เครดิตยูเนี่ยนคลองจั่น จำกัด ซึ่งความเสียหายของทรัพย์สินที่ยักยอกมีมูลค่าตั้งแต่หนึ่งล้านบาทขึ้นไป มีอัตราคงที่ จะมีความแตกต่างกับกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ที่มีการกำหนดอัตราระวางโทษเพิ่มขึ้นตามมูลค่าความเสียหายและจำนวนผู้เสียหาย ซึ่งมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม หรือประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีการกำหนดอัตราระวางโทษในความผิดฐานยักยอกกรณีจัดเป็นความผิดอาญาอุกฉกรรจ์จำคุกไม่เกินสิบปี หรือโทษปรับไม่เกินหนึ่งพันห้าร้อยเหรียญ ดังนั้น อัตราระวางโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดฐานยักยอกของไทยไม่ได้กำหนดจากมูลค่าทรัพย์สินที่ถูกยักยอก อัตราระวางโทษความผิดฐานยักยอกที่กำหนดไว้จึงไม่ได้สัดส่วนกับความร้ายแรงของการกระทำความผิด ทำให้ไม่สามารถชดเชยความเสียหาย รวมทั้งไม่สามารถป้องกันมิให้เกิดการกระทำผิดได้ และ 2) มาตรการ กำหนดอัตราระวางโทษฐานยักยอกตามหลักความได้สัดส่วนในเชิงนิติเศรษฐศาสตร์ ควรกำหนดอัตราระวางโทษความผิดฐานยักยอกให้ได้สัดส่วนกับผลกระทบต่อสังคมในเชิงนิติเศรษฐศาสตร์ โดยการนำอัตราโทษตามประมวลกฎหมายของสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี มาเป็นแนวทางในการบัญญัติบทลงโทษความผิดฐานยักยอกตามประมวลกฎหมายอาญาของไทย โดยกำหนดให้ความผิดฐานยักยอกทั่วไป ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือโทษปรับ กรณีผู้กระทำผิดได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สิน ระวางโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี หรือโทษปรับ และหากเป็นการกระทำผิดที่มีมูลค่าทรัพย์สินสูงหรือเป็นการกระทำที่ก่อให้เกิดความสูญเสียทางการเงินจำนวนมาก อัตราระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 10 ปี หรือโทษปรับ และควรมีการกำหนดเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน ซึ่งจะทำให้การบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิภาพมากขึ้น อันจะเป็นประโยชน์ต่อการยับยั้งการกระทำผิดที่มีมูลค่าความเสียหายสูงและมีผลกระทบต่อระบบเศรษฐกิจและสังคม |
รายละเอียด: | การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี |
URI: | http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1068 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Laws : Independent Study (IS) |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
is LAW67 Worapong.pdf | บทความ, วรพงษ์ | 623.52 kB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น