กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1067
ชื่อเรื่อง: มาตรการทางกฎหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้โทษปรับทางอาญา ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Legal measures to increase efficiency of enforcement Traffic Act
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฐาปนี อภิชาตุบตร
จิตรดารมย์ รัตนวุฒิ
คำสำคัญ: ประสิทธิภาพ
การบังคับใช้กฎหมายจราจร
พระราชบัญญัติจราจรทางบก
วันที่เผยแพร่: 22-เมษ-2567
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์
บทคัดย่อ: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ความเหมาะสมในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 และ 2) บทลงโทษผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยวิธีการศึกษา เชิงคุณภาพจากการศึกษาข้อมูลเอกสาร ได้แก่ กฎหมาย หนังสือ ตำรา บทความวิชาการ คำพิพากษาศาลฎีกา และข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์และเรียบเรียงเป็นบทศึกษาต่าง ๆ ด้วยวิธีการพรรณนาความ เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรการทางกฎหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก ผลการศึกษาพบว่า 1) พระราชบัญญัติจราจร พ.ศ. 2522 อยู่ภายใต้พระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัยพ.ศ. 2565 อันมีผลให้เปลี่ยนความผิดอาญาที่มีโทษปรับสถานเดียวตามพระราชบัญญัติจราจร พ.ศ. 2522 เป็นความผิดทางพินัย และให้ถือว่าอัตราโทษปรับอาญาที่บัญญัติไว้ในกฎหมายดังกล่าวเป็นอัตราค่าปรับเป็นพินัยตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 เจ้าพนักงานจราจรจึงไม่มีอำนาจเปรียบเทียบปรับตามกฎหมายจราจรซึ่งเป็นโทษทางอาญาได้อีกต่อไป ทำให้เจ้าพนักงานจราจรบังคับใช้โทษที่เหมาะสมกับการกระทำผิด และผู้ถูกกล่าวหาสามารถชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหาได้อันเป็นการคุ้มครองสิทธิในเบื้องต้น และ 2) เจ้าพนักงานจราจรต้องมีวิธีการขั้นตอน ในการแสวงหาข้อเท็จจริง รวบรวมพยานหลักฐาน การแจ้งข้อกล่าวหาและแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแก้ข้อกล่าวหา กรณีเมื่อมีเหตุอันควรสงสัย หรือมีการกล่าวหา หรือเจ้าหน้าที่ของรัฐพบเห็นว่าความผิดทางพินัยแล้วนั้น ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการแสวงหาข้อเท็จจริงและรวบรวมพยานหลักฐาน แจ้งข้อกล่าวหา และต้องให้โอกาส ผู้ถูกกล่าวหาได้ชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหานั้น หากผู้ถูกกล่าวหาไม่ชี้แจงหรือแก้ข้อกล่าวหาภายในระยะเวลา เจ้าหน้าที่ของรัฐจะดำเนินการออกคำสั่งปรับเป็นพินัยแจ้งไปยังผู้ถูกกล่าวหา หากผู้ถูกกล่าวหาไม่ชำระค่าปรับ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรวบรวมหลักฐานทำสำนวนส่งอัยการฟ้องต่อศาล ผู้ศึกษาจึงเสนอมาตรการทางกฎหมายเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบังคับใช้พระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 โดยแก้ไขเพิ่มเติมในมาตรา 140 ให้เจ้าพนักงานจราจรรวบรวมพยานหลักฐานการแจ้งข้อกล่าวหาและแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหาชี้แจงข้อเท็จจริงหรือแก้ข้อกล่าวหา กรณีเมื่อ มีเหตุอันควรสงสัย หากมีเหตุผู้ต้องสงสัยได้กระทำความผิด ให้เจ้าพนักงานจราจรแจ้งเจ้าหน้าที่ของรัฐดำเนินการออกคำสั่งปรับเป็นพินัยได้โดยไม่ต้องมีการว่ากล่าวตักเตือน และเมื่อมีการชำระค่าปรับคดีจะสิ้นสุด หากไม่ชำระ ให้เจ้าพนักงานจราจรรายงานทะเบียนรถเข้าสู่ระบบสำนักงานตำรวจแห่งชาติ เมื่อเจ้าพนักงานจราจรพบรถที่กระทำความผิดก็มีอำนาจในการล็อกล้อและยกรถไปเก็บ โดยผู้กระทำความผิดต้องเป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายทั้งหมด หากผู้ถูกกล่าวหายังไม่ชำระค่าปรับ ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐรวบรวมหลักฐานทำสำนวนส่งอัยการฟ้องต่อศาล
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระนิติศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1067
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Laws : Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
is LAW67 Tapanee.pdfบทความ, ฐาปนี283.29 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น