กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1060
ชื่อเรื่อง: การศึกษาห่วงโซ่คุณค่าการส่งออกแร่ยิปซัม : กรณีศึกษาผู้ประกอบการเหมืองแร่ยิปซัม แห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Study of The Gypsum Mineral Export Value Chain : A Case Study of a Gypsum Mining Operator in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุกัญญา ปานคง
วรรณวิชณีย์ ทองอินทราช
คำสำคัญ: ห่วงโซ่คุณค่า
การส่งออก
ผู้ประกอบการ
แนวทางการจัดการห่วงโซ่คุณค่า
วันที่เผยแพร่: 17-เมษ-2567
สำนักพิมพ์: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
แหล่งอ้างอิง: บทความ, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) กิจกรรมหลักในห่วงโซ่คุณค่าการส่งออกแร่ยิปซัม : กรณีศึกษา ผู้ประกอบการเหมืองแร่ยิปซัมแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) กิจกรรมสนับสนุนในห่วงโซ่คุณค่า การส่งออกแร่ยิปซัม : กรณีศึกษาผู้ประกอบการเหมืองแร่ยิปซัมแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) ข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางการจัดการห่วงโซ่คุณค่าการส่งออกแร่ยิปซัม : กรณีศึกษาผู้ประกอบการ เหมืองแร่ยิปซัมแห่งหนึ่งในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก ใช้การคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบเจาะจง โดยมีเกณฑ์การคัดเลือก คือ ผู้บริหารองค์กรระดับผู้จัดการและหัวหน้างานทุกแผนก รวมผู้ให้ข้อมูลจำนวน 6 คน เป็นแบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง โดยแบ่งเป็น 3 ตอน โดยทำการวิเคราะห์แบบสัมภาษณ์ การดำเนินงานตามกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่า และนำคำสัมภาษณ์มาวิเคราะห์ข้อมูลและนำเสนอผลการวิจัยแบบพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1) มีกิจกรรมหลักในห่วงโซ่คุณค่า ประกอบด้วย การจัดหาแร่เข้าสู่กระบวนการผลิต การเปิด หน้าดิน ขุดเจาะระเบิดแร่ โม่แร่ ให้ออกมาเป็นแร่ยิปซัมพร้อมส่งออกให้กับลูกค้า การจัดเก็บรักษาแร่ การควบคุมสต็อก ทั้งที่เหมืองและท่าเรือ การขนส่งแร่ไปยังท่าเรือเพื่อส่งออกให้กับลูกค้าโดยตรงหรือผ่านพ่อค้าคนกลาง โดยกำหนดราคาตามที่ตกลงกันในสัญญาซื้อขาย และการดำเนินการด้านเอกสารต่าง ๆ ในการส่งออกแร่ให้กับลูกค้าในแต่ละคำสั่งซื้อ 2) มีกิจกรรมสนับสนุนในห่วงโซ่คุณค่า ประกอบด้วย การสั่งงานจากผู้บริหาร เมื่อได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้า การสรรหา คัดเลือกพนักงานเข้ามาปฏิบัติงาน โดยมุ่งเน้นประสบการณ์เป็นหลัก การให้ค่าตอบแทนและสวัสดิการ รวมไปถึงการดูแลคุณภาพชีวิตของพนักงานแต่ละคน การหาเครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีใหม่ ๆ มาใช้ในการผลิต และการจัดซื้อน้ำมันอะไหล่ วัสดุ เครื่องมือต่าง ๆ ที่ใช้ในการปฏิบัติงาน ซึ่งกิจกรรมในห่วงโซ่คุณค่าทั้ง 9 กิจกรรมนั้นมีผลดีกับผู้ประกอบการในการดำเนินงานส่งออกแร่ยิปซัม การเพิ่มคุณค่าและประสิทธิภาพในการปฏิบัติงาน การบริหารต้นทุนและการเพิ่มกำไรให้กับผู้ประกอบการทำให้ผล การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพและมีกำไรมากที่สุด และ 3) ข้อเสนอแนะและกำหนดแนวทางการจัดการห่วงโซ่คุณค่า พบว่า ควรมีการจัดหาแหล่งแร่หรือผลิตแร่ให้เพียงพอต่อความต้องการของลูกค้า การรักษาฐานลูกค้าเก่าและเพิ่มลูกค้าใหม่ การบริหารควบคุมต้นทุนการผลิต ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน รวมไปถึงค่าใช้จ่ายเบ็ดเตล็ดต่าง ๆ ซึ่งทุกคนในองค์กรควรให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่เพื่อให้ผู้ประกอบการมีผลการดำเนินธุรกิจที่มีประสิทธิภาพและมีกำไรมากที่สุด
รายละเอียด: การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1060
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Business Administration: Independent Study (IS)

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
isMA67_sukunya.pdfบทความ, การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต1.7 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น