กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1049
ชื่อเรื่อง: รูปแบบการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Model of Information Resource Services of Public Libraries in Surat Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อมรรัตน์ แซ่กวั่ง
คำสำคัญ: รูปแบบการให้บริการ
ทรัพยากรสารสนเทศ
ห้องสมุดประชาชน
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
วันที่เผยแพร่: 2562
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องรูปแบบการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของประชาชนที่มาใช้บริการห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี 2) ศึกษาแนวทางการพัฒนาการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed methods) ระหว่างเชิงปริมาณ (Quantitative Research) และเชิงคุณภาพ (Gualitative Research) วิธีวิจัยเชิงปริมาณใช้ศึกษารวบรวมสภาพปัญหาและความต้องการทรัพยากรสารสนเทศ และแนวทางการพัฒนาการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศห้องสมุดประชาชน เครื่องมือวิจัยใช้แบบสอบถามแบบสำรวจ ส่วนวิจัยเชิงคุณภาพใช้จัดทำร่างรูปแบบการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนในจังหวัดสุราษฎร์ธานี เครื่องมือวิจัยใช้ข้อมูลจากการวิจัยในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดประชาชน พ.ศ. 2550 โดยใช้วิธีสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sample) จากผู้บริหารและบรรณารักษ์ อย่างละจำนวน 6 คน และผู้ใช้บริการห้องสมุดประชาชน จำนวน 540 คน และแบบการสุ่มจับฉลากห้องสมุดประชาชน จากห้องสมุดประชาชนแม่ข่ายของแต่ละโซนการบริหารงานในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 6 แห่ง ได้แก่ ห้องสมุดประชาชนอำเภอบ้านตาขุน ห้องสมุดประชาชนอำเภอไชยา ห้องสมุดประชาชน “เฉลิมราชกุมารี” อำเภอกาญจนดิษฐ์ ห้องสมุดประชาชนอำเภอชัยบุรีห้องสมุดประชาชนอำเภอเกาะสมุย และห้องสมุดประชาชนจังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาของประชาชนที่มาใช้บริการห้องสมุดประชาชน ปัจจุบันมีปัญหาเกี่ยวกับการใช้บริการห้องสมุดประชาชนด้านการสื่อสารกับผู้ใช้มีปัญหาการให้บริการมากกว่าด้านอื่น ๆ ส่วนบรรณารักษ์หรือผู้ให้บริการเห็นว่าด้านกระบวนการ/ขั้นตอนการให้บริการมีปัญหาการให้บริการมากกว่าด้านอื่น ๆ และความต้องการทรัพยากรสารสนเทศของประชาชนที่มาใช้บริการห้องสมุดประชาชนมีความต้องการทรัพยากรสารสนเทศมากกว่าประเภทอื่น ๆ ซึ่งได้แก่สื่อสิ่งพิมพ์อันเป็นหนังสือหมวดเบ็ดเตล็ด ความรู้ทั่วไป (000) สื่ออิเล็กทรอนิกส์ คือ ฐานข้อมูลออนไลน์ สื่อสิ่งพิมพ์ต่อเนื่องได้แก่ หนังสือพิมพ์ สื่อในการจัดทำผลงานทางวิชาการ คือ หนังสือและรายงานการวิจัย (ฉบับสมบูรณ์) และสื่อโสตทัศน์ คือ สื่อโสตทัศน์อื่น ๆ เช่น ภาพยนตร์ ฯลฯ 2) แนวทางการพัฒนาการให้บริการทรัพยากร(3) สารสนเทศห้องสมุดประชาชนในปัจจุบัน สภาพการดำเนินงานตามภารกิจด้านนโยบายและการดำเนินงานห้องสมุดประชาชน ผู้บริหารและบรรณารักษ์มีความคิดเห็นที่ตรงกันมากที่สุด ส่วนด้านบทบาทของห้องสมุดประชาชนผู้บริหารและบรรณารักษ์หรือผู้ให้บริการมีความคิดเห็นที่ตรงกันมากที่สุดคือ การส่งเสริมการรู้หนังสือ คือ การส่งเสริมการอ่านสร้างนิสัยรักการอ่าน ในด้านทรัพยากรสารสนเทศที่มีให้บริการของห้องสมุดประชาชนยังมีบริการทรัพยากรสารสนเทศทุกประเภทตามมาตรฐานห้องสมุดประชาชน 2550 3) รูปแบบการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดประชาชน เป็นรูปแบบที่ได้จากข้อมูลจากการวิจัยในระยะที่ 1 ระยะที่ 2 และเกณฑ์มาตรฐานห้องสมุดประชาชน พ.ศ. 2550 ผู้บริหารและบรรณารักษ์หรือผู้ให้บริการเห็นว่ามีความเหมาะสมโดยรวมในระดับมาก รูปแบบการให้บริการใหม่ที่ห้องสมุดประชาชนใช้เป็นแนวทางการพิจารณาปรับปรุงประสิทธิภาพการให้บริการใน 5 ด้าน ด้านการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศมี 5 ประเภท คือ ประเภทสื่อสิ่งพิมพ์จากเดิม 14 หมวด เหลือเพียงรูปแบบการให้บริการหลักและรอง รูปแบบการให้บริการหลัก 5 หมวด ในด้านบริการพื้นฐานที่ควรจัดให้มีในห้องสมุดประชาชนมี 13 ด้าน กำหนดรูปแบบการให้บริการหลักและรองรูปแบบการให้บริการหลัก 9 ด้าน ห้องสมุดในส่วนการดำเนินงานตามภารกิจต่อการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนมี 3 ด้าน กำหนดจากผลที่เกิดจากการวิจัยในระยะที่สองและภารกิจจริง ๆ ต่อการทำงานของห้องสมุดประชาชนได้แก่ การจัดการศึกษาตามอัธยาศัยเดิมมี 11 ภารกิจ เหลือเพียง 5 ภารกิจ ในด้านการเป็นแหล่งการเรียนรู้ที่เชื่อมโยงการศึกษาในระบบและการศึกษานอกระบบเดิมมี 13 ภารกิจ เหลือเพียง 6 ภารกิจ ส่วนในด้านการจัดศูนย์ข้อมูลชุมชนเดิมมี 15 ภารกิจ เหลือเพียง 5 ภารกิจ ในด้านบทบาทของห้องสมุดประชาชนต่อการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุดประชาชนจำนวน 9 ด้าน กำหนดจากผลที่เกิดจากการวิจัยในระยะที่สองและภารกิจจริง ๆ ต่อการทำงานของห้องสมุดประชาชนได้แก่ ด้านการส่งเสริมการรู้หนังสือเดิมมี 8 บทบาท เหลือเพียง 4 บทบาท ในด้านการรู้สารสนเทศเดิมมี 10 บทบาท เหลือเพียง 5 บทบาท ส่วนด้านการเรียนรู้ตลอดชีวิตเดิมมี 10 บทบาท เหลือเพียง 4 บทบาท ในส่วนด้านการสนับสนุนการเป็นพลเมืองดีเดิมมี 8 บทบาท เหลือเพียง 4 บทบาท ส่วนด้านการอนุรักษ์และเผยแพร่มรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น เดิมมี 9 บทบาท เหลือเพียง 6 บทบาท ด้านการพัฒนาชุมชนเดิมมี 11 บทบาท เหลือเพียง 5 บทบาท ในด้านการพัฒนาเศรษฐกิจฐานความรู้เดิมมี 8 บทบาท เหลือเพียง 4 บทบาท ในส่วนสุดท้ายการบริการรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาที่พึงประสงค์ในอนาคตเดิมมี 7 บทบาท เหลือเพียง 5 บทบาท
URI: http://ir.sru.ac.th/handle/123456789/1049
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:HUMAN: Research Reports

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
2562-รูปแบบการให้บริการทรัพยากรสารสนเทศของห.pdf9.01 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการทั้งหมดในระบบคิดีได้รับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ มีการสงวนสิทธิ์เว้นแต่ที่ระบุไว้เป็นอื่น